โรงเรียนสุมณฑาศึกษา

สังกัดคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

หลักสูตรลูกเสือไซเบอร์


   คู่มือการสอนหลักสูตรค่ายลูกเสือไซเบอร์
 หลักสูตรวิทยากรแกนนำลูกเสือไซเบอร์์
 ตำราเรียนลูกเสือไซเบอร์
 คู่มือการขยายผลอาสาสมัครลูกเสือไซเบอร์
 คู่มือการใช้งาน

บทที่ ๑ วัตถุประสงค์และบทบาทหน้าที่ของลูกเสือไซเบอร์

วัตถุประสงค์
เมื่อจบบทเรียนนี้แล้ว พึ่งคุณลักษณะของผู้เรียนผู้ฝึกเมื่อสำเร็จ

๑. อธิบายความหมายของลูกเสือโลก/ลูกเสือไทย/ลูกเสือไซเบอร์ได้
๒. อธิบายประวัติ ภูมิหลัง และกิจการของลูกเสือโลกและลูกเสือไทย / ลูกเสือไซเบอร์ได้
๓. อธิบายสาระสำคัญของการลูกเสือ คำปฏิญาณ และกฎของลูกเสือได้
๔. อธิบายระบบหมู่และการฝึกอบรมนายหมู่ลูกเสือได้
๕. อธิบายบทบาทหน้าที่และพิธีการเข้าประจำหน่วยของลูกเสือไซเบอร์ได้

 

บทที่ ๒ คุณธรรม จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

วัตถุประสงค์
เพื่อให้มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณตามข้อบัญญัติ 10 ประการ พร้อมกระตุ้นให้เกิดคุณธรรมจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้


๑.คุณธรรม จริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีทั้งทางบวกและทางลบ

-ทางบวก ทำให้ มนุษย์มีความเป็นอยู่ ดีช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้ เกิดการผลิตในอุตสาหกรรม ส่งเสริมให้ เกิดการค้นคว้าวิจัยสิ่งใหม่ สุขภาพและ ความเป็นอยู่ ให้ ดีขึ้น

-ทางลบ ทำให้ เกิดอาชญากรรม ทำให้ ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อม เกิดการเสี่ยงภัยทางด้านธุรกิจ

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์จะทำให้สังคมและประเทศชาติมีความเจริญรุ่งเรือง


๒.จรรยาบรรณในการใช้สังคมออนไลน์

Netiquette เป็นคำที่มาจาก“Network Etiquette” หมายถึง จรรยามารยาทของการอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ต Cyberspace หรือ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ผู้คนเข้ามาแลกเปลี่ยน สื่อสาร กิจกรรมร่วมกัน ชุมชนใหญ่บ้าง เล็กบ้าง บนอินเทอร์เน็ตนั้นก็ไม่ต่างจากสังคมบนโลกแห่งความเป็นจำเป็นต้องมีกฎกติกา (Codes of Conduct) เพื่อใช้ เป็นกลไกสำหรับการกำกับดูแลพฤติกรรมและการ ปฏิสัมพันธ์ของสมาชิก


๓. บัญญัติ ๑๐ ประการในการใช้อินเทอร์เน็ตและเครือข่ายทางสังคม

เป็นจรรยาบรรณที่ควรยึดถือ เสมือนเป็นแม่บทของการปฏิบัติ พึงระลึกและเตือนความจำเสมอ มีดังนี้

๑. ต้องไม่ ใช้ คอมพิวเตอร์ทำลายหรือละเมิดผู้อื่น

๒. ต้องไม่ รบกวนการทำงานของผู้ อื่น

๓. ต้องไม่ สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น

๔. ต้องไม่ ใช้ คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร

๕. ต้องไม่ ใช้ คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ

๖. ต้องไม่ คัดลอกโปรแกรมของผู้ อื่นที่มีลิขสิทธิ์

๗. ต้องไม่ ละเมิดการใช้ ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์

๘. ต้องไม่ นำเอาผลงานของผู้ อื่นมาเป็นของตน

๙. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ

๑๐. ต้องใช้ คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท


๔. การกระตุ้นให้เกิดคุณธรรม จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร Information and Communication Technology : ICT) ถือเป็นหัวใจสำคัญในการผลักดันประเทศเข้าสู่สังคมโลกาภิวัตน์ ซึ่งมีพื้นฐานแห่งการระดมสมอง ภูมิการเรียนรู้ อย่างไม่หยุดนิ่ง การที่เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคมในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนทำให้ เกิด สภาพที่เรียกว่าพื้นที่ไซเบอร์Cyberspace) และโลกเสมือนจริง (Virtual( World) ทำให้มีผลทั้งในด้านดีและด้านเสีย

๕.แนวทางในการกระตุ้นให้เกิดคุณธรรม จริยธรรม

- มาตรการทางการบริหาร – จัดบุคลากร ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

- มาตรการทางกฎหมาย – การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง

- มาตรการควบคุมจรรยาบรรณ – กระตุ้นให้สมาคมและเครือข่าย ดูแลกันเอง

- มาตรการทางสังคม - ยกระดับและพัฒนาสถาบันพื้นฐานให้มีความรู้

- มาตรการทางการศึกษา - พัฒนาทั้งในและนอกระบบการศึกษา

- มาตรการทางคุณธรรมจริยธรรม – จัดระบบ ให้การศึกษา

แบบทดสอบก่อนเรียน บทที่ 2 คุณธรรม จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

บทที่ ๓ คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับลูกเสือไซเบอร์

แบบทดสอบก่อนเรียน บทที่ ๓ คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับลูกเสือไซเบอร์

 

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้ ในกรณีที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนี้ว่า โฮสต์ (Host) และเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ามาเชื่อมต่อว่า ไคลเอนต์ (Client) ระบบเครือข่าย (Network) จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลก ซึ่งข้อมูลต่างๆ อาจเป็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วแก่ผู้ใช้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสำคัญ และจำเป็นต่อการใช้งานในด้านต่างๆ


เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ กลุ่มคอมพิวเตอร์ (มากกว่าสองเครื่อง หรือ สองระบบขึ้นไป) ที่มีการเชื่อมต่อให้สามารถสื่อสารข้อมูลถึงกันได้ โดยมีวัตถุประสงค์มากไปกว่าการสื่อสารข้อมูล เช่น อาจมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการประมวลผลข้อมูลร่วมกัน หรือมีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน


เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งแยกตามขอบเขตการต่อเชื่อมว่าต้องการใช้ในระยะใกล้หรือไกลประเภทสำคัญ ๆ ดังนี้


๑. เครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ (Local Area Network : LAN)


๒. เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network : WAN)


๓. เครือข่ายนครหลวง (Metropolitan Area Network : MAN)


๔. เครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet)


เครือข่าย (Local Area Network : LAN) ลักษณะสำคัญของเครือข่ายแลน คือ อุปกรณ์ที่ประกอบภายในเครือข่ายสามารถรับสัญญาณกันด้วยความเร็วสูงมาก โดยทั่วไปมีความเร็วตั้งแต่หลายสิบล้านบิตต่อวินาที จนกว่าพันล้านบิตต่อวินาที การสื่อสารในระยะใกล้จะมีความเร็วในการสื่อสาร ทำให้การรับส่งข้อมูลมีความผิดพลาดน้อย และสามารถรับส่งข้อมูลจำนวนมากในเวลาจำกัดได้ เครือข่ายแลนจึงเป็นเครือข่ายที่มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กรและมีแนวโน้มที่จะทำให้ทรัพยากรและการประมวลผลในองค์กรเชื่อมโยงเป็นระบบเดียวทำให้ใช้งานร่วมกันได้ทั้งองค์กร เครือข่ายแลนหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ท้องถิ่นเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในท้องที่บริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน เช่น ภายในอาคาร หรือภายในองค์การที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก


เครือข่าย (Metropolitan Area Network : MAN) เป็นเครือข่ายให้บริการสำหรับเมืองใหญ่ ๆ ที่พัฒนาจากระบบโทรทัศน์ทางสายหรือเคเบิ้ลทีวีในสมัยก่อน ระบบนี้ใช้สายโคแอกเชียลความเร็วสูงในการส่งสัญญาณโทรทัศน์ไปให้สมาชิกตามบ้านต่อมาพัฒนาให้รับส่งข้อมูลได้โดยทั่วไป รับส่งสัญญาณภาพเสียง และข้อมูล โดยมีวงจรอิเล็กทรอนิกส์รับส่งที่สามารถแยกสัญญาณนี้ออกจากกันทำให้บริการได้ทั้งเคเบิลทีวี วิทยุทางสายและเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์


เครือข่าย (Wide Area Network : WAN) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะไกล เช่น เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ การสร้างเครือข่ายระยะไกล จึงต้องอาศัยระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ เช่น สารวงจรเช่าจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หรือ จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ใช้วงจรสื่อสารผ่านดาวเทียมใช้วงจรสื่อสารเฉพาะกิจที่มีให้บริการแบบสาธารณะ เครือข่ายแวนจึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกล และต้องการเชื่อมสาขาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคารมีสาขาทั่วประเทศมีบริการ รับฝากเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม เครือข่ายแวนเชื่อมโยงระยะไกลมาก จึงมีความเร็วในการสื่อสารไม่สูงเนื่องจาก มีสัญญาณรบกวนในสาย และการเชื่อมโยงระยะไกลจำเป็นต้องใช้เทคนิคพิเศษในการลดปัญหาข้อมูลผิดพลาดของการรับส่งสัญญาณ เครือข่ายแวนเป็นเครือข่ายที่ทำให้เครือข่ายแลนหลาย ๆ เครือข่ายเชื่อมถึงกันได้

เครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) ได้รับการพัฒนามาจากเครือข่ายแวน เพื่องานวิจัยของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ที่เรียกว่า อาร์พาเน็ต ในปี ค.ศ. 1983 ได้ใช้มาตรฐาน TCP/IP เป็นมาตรฐานในการสื่อสารได้รับความนิยมอย่างมาก ทำให้เครือข่ายในองค์กรต่าง ๆ เข้าร่วมใช้งานกลายเป็นเครือข่ายทางไกลที่เชื่อมอยู่ระหว่างเครือข่ายจำนวนมาก อินเตอร์เน็ตทำให้เปิดโลกทัศน์ของผู้ได้กว้างไกลทำให้เกิดสภาวะที่เรียกว่า “โลกไร้พรมแดน” เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ครอบคลุมไปทั่วโลกซึ่งเกิดจากการเชื่อมโยงของเครือข่ายย่อยจำนวนมากที่กระจายอยู่ทั่วไปเครือข่ายเหล่านี้เชื่อมเข้าหากันภายใต้ กฎเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันจนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ โดยใช้มาตรฐานการเชื่อมต่อเดียวกัน ทั้งหมดเรียกว่า “ทีซีพี/ไอพี” ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันทางเทคโนโลยีสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันได้ ซึ่งมีลักษณะการเชื่อมต่อแบบสลับวงจรและสลับข้อมูล


บทที่ ๔ ภัยคุกคามจากการใช้งานทางอินเทอร์เน็ต
แบบทดสอบก่อนเรียน บทที่ ๔ ภัยคุกคามจากการใช้งานทางอินเตอร์เน็ต


ใบความรู้ บทที่ ๔ ภัยคุกคามจากการใช้งานทางอินเตอร์เน็ต

แบบทดสอบหลังเรียน บทที่ ๔ ภัยคุกคามจากการใช้งานทางอินเตอร์เน็ต


บทที่ ๕ เครือข่ายสังคมออนไลน์
แบบทดสอบก่อนเรียน บทที่ ๕ เครือข่ายสังคมออนไลน์

วัตถุประสงค์

๑.เมื่อจบบทเรียนนี้แล้ว ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถ

- มีความรู้ และเข้าใจ เกี่ยวกับโครงสร้างของเครือข่ายสังคมออนไลน์

- มีความรู้ และเข้าใจ เกี่ยวกับวิธีการป้องกันภัยบนเครือข่ายสังคมออนไลน์

- มีความรู้ และเข้าใจ เกี่ยวกับปัญหาเบื้องต้นของเครือข่ายสังคมออนไลน์

๒. ขั้นตอนการศึกษาเนื้อหาสาระ

ศึกษาหลักสูตรผู้บังคับบัญชาลูกเสือไซเบอร์ (Cyber Scout) บทที่ 5 เครือข่ายสังคมออนไลน์

๓. เกณฑ์การประเมิน

ผู้เข้ารับการอบรมต้องผ่านการทดสอบหลังเรียนร้อยละ 80
 

ใบความรู้ บทที่ ๕ เครือข่ายสังคมออนไลน์
แบบทดสอบหลังเรียน บทที่ ๕ เครือข่ายสังคมออนไลน์

บทที่ ๖ การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์

แบบทดสอบ
ก่อนเรียน บทที่ ๖ การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์

ใบความรู้ บทที่ ๖ การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์
แบบทดสอบหลังเรียน บทที่ ๖ การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์

บทที่ ๗ กฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารและกฎหมายเกี่ยว กับโทรคมนาคม
แบบทดสอบก่อนเรียน บทที่ 7 กฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและกฎหมายเกี่ยวกับคมนาคม

๑. วัตถุประสงค์

เมื่อจบบทเรียนนี้แล้ว ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถ

๑.๑ มีความรู้ และ เข้าใจ เกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และแก้ไขปรับปรุง พ.ศ. 2560

๑.๒ มีความรู้ และ เข้าใจ เกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

๑.๓ มีความรู้ และ เข้าใจ เกี่ยวกับกฎหมายเกี่ยวกับโทรคมนาคม

๑.๔ มีความรู้ และ เข้าใจ เกี่ยวกับกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายเกี่ยวกับพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ กฎหมาย เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา 

๒. ขั้นตอนการศึกษาเนื้อหาสาระ

๒.๑ วีดีทัศน์นำเสนอเกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และแก้ไขปรับปรุง พ.ศ. 2560

๒.๒ ศึกษาแหล่งเรียนรู้ เรื่อง พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และแก้ไขปรับปรุง พ.ศ. 2560 และกฎหมายอื่น ๆที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

๒.๓ ศึกษาใบความรู้ เรื่อง พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และแก้ไขปรับปรุง พ.ศ. 2560 และกฎหมายอื่น ๆที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

๓. เกณฑ์การประเมิน

ผู้เข้ารับการอบรมต้องผ่านการทดสอบหลังเรียนร้อยละ ๘๐

ใบความรู้ บทที่ 7 กฏหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อการและกฏหมายเกี่ยวกับโทรคมนาคม
วีดีทัศน์นำเสนอเกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และแก้ไขปรับปรุง พ.ศ. 2560
แบบทดสอบหลังเรียน บทที่ 7 กฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและกฎหมายเกี่ยวกับคมนาคม
 

บทที่ ๘ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์

แบบทดสอบก่อนเรียน บทที่ 8 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์

ขอบข่ายรายวิชา

๑. การใช้และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์

๒. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสังคมออนไลน์

๓. กรณีศึกษาเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสร้างสรรค์

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อให้มีความรู้การใช้และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์

๒. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสังคมออนไลน์

๓. เพื่อใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสร้างสรรค์

ขั้นตอนการศึกษาเนื้อหาสาระ

ขั้นที่ ๑ ศึกษาวัตถุประสงค์ ประจำบทเรียน ๘

ขั้นที่ ๒ ทำแบบทดสอบก่อนเรียน

ขั้นที่ ๓ ศึกษาเอกสาร

ขั้นที่ ๔ ทำแบบทดสอบหลังเรียน

เกณฑ์การประเมิน

ผู้เข้ารับการอบรมต้องผ่านการทดสอบหลังเรียนร้อยละ ๘๐

ใบความรู้ บทที่ ๘ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์

แบบทดสอบหลังเรียน บทที่ 8 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์


 



เรื่องที่เกี่ยวข้อง

No comments yet
ความคิดเห็น
Goragod.com
^