ฐานข้อมููลประกอบ

การบริหารจัดการพื้นที่ฌาปนสถานของวัดในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร

 

ระบบจัดการจองเมรุวัด

การจองเมรุ/ศาลา
1. เริ่มต้น
2. ยื่นใบมรณะบัตร
3. จองเมรุ
4. ระบุวันฌาปนกิจ
5. เลือกสถานที่
6. ตรวจสอบเมรุว่าว่างหรือไม่ ถ้าว่างให้ลงไปบันทึกการจองเมรุ ถ้าไม่ว่างให้ขึ้นไประบุวันฌาปนกิจศพใหม่
7. บันทึกการจองเมรุ
8. ตรวจสอบการจัดงานว่าต้องการเลือกจัดงานที่ไหน ถ้าเลือกบ้านให้มาจบการทำงาน แต่ถ้าเลือกศาลาให้ทำการตรวจสอบศาลา 1 และศาลา 2 ว่าว่างหรือไม่ ถ้าว่างให้ลงมาทำการบันทึกการจองศาลา
9. บันทึกการจองศาลา
10. พิมพ์ใบจอง
11. จบการทำงาน

การจัดงาน
1. เริ่มต้น
2. รับข้อมูลการจองเมรุ
3. ตรวจสอบการจัดงาน ว่าต้องการเลือกสถานที่จัดงานที่ไหน ถ้าต้องการเลือกจัดงานที่บ้านให้ลงมาบันทึกการจัดงาน แต่ถ้าเลือกศาลาให้เลือกว่าต้องการเลือกศาลาที่ 1 หรือศาลาที่ 2แล้วทำการบันทึกการจัดงาน
4. บันทึกการจัดงาน
5. กรอกอุปกรณ์และผู้ดาเนินงานในการจัดงาน
6. บันทึกข้อมูลการจัดงาน
7. แสดงรายละเอียดการจัดงาน
8. พิมพ์ใบกำหนดการจัดงาน
9. จบการทำงาน

การสวดอภิธรรม
1. เริ่มต้น
2. รับค่าข้อมูลการจัดงาน
3. กรอกรายชื่อคณะเจ้าภาพ
4. แสดงรายชื่อเจ้าภาพ
5. เลือกเมนูอาหารเลี้ยงรับรองแขกในงาน
6. แสดงรายการเมนูอาหารที่เลือก
7. บันทึกข้อมูลการสวดอภิธรรม
8. พิมพ์ใบสวดอภิธรรม
9. จบการทำงาน

การฌาปนกิจ
1. เริ่มต้น
2. ตรวจสอบข้อมูลการจองเมรุว่ามีหรือไม่ ถ้าไม่มีให้ลงมาจบการทำงาน แต่ถ้ามีให้ระบุรายชื่อผู้ทอดผ้าบังสกุลทั้งหมด
3. แสดงรายละเอียดผู้ทอดผ้าบังสกุลทั้งหมด
4. ทอดผ้าบังสกุล
5. ฌาปนกิจศพ
6. เก็บอัฐิ
7. บันทึกการฌาปนกิจศพ
8. พิมพ์ใบรับอัฐิ
9. จบการทำงาน

การเก็บอัฐิ
1. เริ่มต้น
2. ตรวจสอบข้อมูลการฌาปนกิจว่ามีหรือไม่
3. แสดงข้อมูลการฌาปนกิจ
4. เลือกสถานที่เก็บอัฐิ
5. ตรวจสอบสถานที่เก็บอัฐิว่าว่างหรือไม่ ถ้าไม่ว่างให้กลับขึ้นไปเลือกสถานที่เก็บอัฐิอีกครั้ง ถ้าว่างให้ลงมาแสดงแถวอัฐิที่ว่าง
6. แสดงแถวอัฐิที่ว่าง
7. ระบุแถวที่ต้องการ
8. บันทึกข้อมูลการเก็บอัฐิ
9. พิมพ์ใบเก็บอัฐิ
10. จบการทำงาน

การชำระเงิน
1. เริ่มต้น
2. รับค่าการจัดงานศพ
3. แสดงรายละเอียดข้อมูลการจัดงาน
4. คานวณค่าใช้จ่ายต่างๆ
5. แสดงค่าใช้จ่ายทั้งหมด
6. ตรวจสอบจำนวนเงินว่าพอหรือไม่ ถ้าจำนวนเงินพอให้ลงมาชำระเงินแต่ถ้าจำนวนเงินเกิน ให้มาตรวจสอบว่าต้องการบริจาคให้อีกหรือไม่ ถ้าต้องการบริจาคให้ลงมาชำระเงิน ถ้าไม่บริจาคให้ลงมาบันทึกการชำระเงิน
7. ชำระเงิน
8. บันทึกการชำระเงิน
9. แสดงรายละเอียดการชำระ
10. พิมพ์ใบเสร็จ
11. จบการทำงาน

PROGRAM : php , phpMyadmin SQL

 

ข้อมูลประกอบ

หลังจากมีผู้เสียชีวิต รายละเอียดของลำดับขั้นตอนการปฎิบัติที่ญาติควรทราบเกี่ยวกับพิธีงานศพมีดังต่อไปนี้

1. การแจ้งตาย
2. การนำศพไปวัด
3. การอาบน้ำศพ การรดน้ำศพ
4. การจัดงานบำเพ็ญกุศลสวดอภิธรรม
5. การบรรจุเก็บศพ
6. การฌาปนกิจศพและของชำร่วยงานศพ
7. การเก็บอัฐิ
8. การลอยอังคาร

เฟรมขยายข้อมูล

1. การแจ้งตาย

- ถึงแก่กรรมที่โรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลจะออกใบรับรองแพทย์ให้ เพื่อเป็นหลักฐานแสดงเหตุการณ์ตาย แล้วนำใบรับรองแพทย์พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เสียชีวิตไปยังสำนัก ทะเบียนท้องถิ่น หรือที่ทำการเขต(อำเภอ) ในเขตที่โรงพยาบาลนั้นตั้งอยู่ เพื่อขอรับใบมรณบัตร แต่โรงพยาบาลบางแห่งจะออกใบมรณบัตรให้เอง

- ถึงแก่กรรมที่บ้าน เจ้าของบ้านหรือผู้แทนเจ้าของบ้าน จะต้องไปแจ้งการตายต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อออกใบรับรองการตาย และนำไปแจ้งต่อเจ้าหน้าที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น (แพทย์ประจำตำบล ผู้ใหญ่บ้าน หรือ กำนัน) ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในเขตที่บ้านเรือนนั้นตั้งอยู่ ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย หรือ
พบศพ เพื่อขอใบมรณบัตร

2. การนำศพไปวัด


เมื่อติดต่อวัดที่จะนำศพไปตั้งบำเพ็ญกุศลเรียบร้อยแล้ว การนำศพไปวัดอาจติดต่อขอให้ทางวัดจัดรถไปรับศพ หรือแจ้งความ

ประสงค์กับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล ขอให้จัดรถส่งศพให้ และนิมนต์พระสงฆ์ 1 รูป มาชักศพที่จะเคลื่อนไปสู่วัดที่นำศพไปตั้ง

บำเพ็ญกุศล

3. การรดน้ำศพ

- เจ้าภาพควรเตรียมน้ำอบ น้ำหอม พร้อมขันใส่น้ำผสมน้ำอบน้ำหอม และขันเล็กสำหรับตักน้ำยื่นให้แขก และขันขนาดใหญ่มีพานรองรับน้ำที่รดมือศพด้วย หรือจะขอร้องให้ทางเจ้าหน้าที่ฌาปนสถานจัดเตรียมให้ก็ได้ แล้วแต่จะตกลงกัน
- ก่อนจะเริ่มพิธีรดน้ำศพนั้น นิยมให้เจ้าภาพ หรือเชิญผู้มีอาวุโสเป็นประธานในพิธีจุดเครื่องบูชาพระรัตนตรัยก่อน แล้วจุดเครื่องทองน้อย (หรือธูปเทียน) ทางด้านศรีษะศพ แล้วจึงเริ่มพิธีรดน้ำศพต่อไป โดยเวลาที่นิยมในการรดน้ำศพโดยทั่วไปคือเวลา 16.00-17.00 น.
- นิยมให้ลูกหลาน ผู้ใกล้ชิด ทำการรดน้ำศพเสียก่อน ถึงเวลาเชิญแขกเพื่อมิให้คับคั่งเสียเวลารอคอยของแขกผู้มาแสดงความเคารพ
- เจ้าภาพควรจัดคนให้ทำหน้าหน้าที่คอยรับรองและเรียนเชิญแขกเข้ารดน้ำศพโดยนิยมให้ลูกหลาน หรือญาติฝ่ายเจ้าภาพทำหน้าที่
- เมื่อแขกรดน้ำศพหมดแล้ว จึงเชิญท่านผู้มีอาวุโสสูงสุดที่อยู่ในที่นั้น เป็นผู้แทนรดน้ำศพ ด้วยน้ำหลวงอาบน้ำศพ หรือเป็นผู้รดน้ำศพเป็นคนสุดท้าย
- เมื่อท่านผู้มีอาวุโสสูงสุดที่อยู่ที่นั้น ได้รดน้ำหลวงอาบศพหรือได้รดน้ำศพแล้วถือกันว่าเป็นอันเสร็จพิธีรดน้ำศพ ไม่นิยมให้ผู้ใดผู้หนึ่งรดน้ำศพอีกต่อไป

4. การจัดงานบำเพ็ญกุศล

 

การสวดพระอภิธรรม


- การสวดพระอภิธรรม ประจำคืน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "สวดหน้าศพ" นิยมเริ่มจัดทำตั้งแต่วันตั้งศพเป็นต้นไปทุกคืน

- โดยนิยมสวด 1 คืน , 3 คืน , 5 คืน , 7 คืน (ในบางรายหลังจากทำบุญ 7 วันแล้ว อาจจะสวดพระอภิธรรม สัปดาห์ละ 1 วัน จน

ครบ 100 วัน หรือจนถึงวันฌาปนกิจศพ)

- ตามประเพณีนิยมแต่โบราณ จะนิมนต์พระสวดอภิธรรม 4 รูป และสวด 4 จบ พระสงฆ์ จะลงสวดเวลาตามแต่ละท้องถิ่น (ปกติจะนิยมเริ่มตั้งแต่เวลา 19.00 น.)

- ต้องจัดให้มีเครื่องไทยธรรมพร้อมผ้าสบงเพื่อถวายพระสวดอภิธรรม และบังสุกุลให้ผู้เสียชีวิต (ปัจจุบัน ทางฌาปนสถานหรือทางวัด จะมีบริการจัดหาให้)

- ปัจจัยถวายพระ 4 รูป ตามแต่จะศรัทธา

- ตามประเพณีนิยมมักมีอาหารว่างเลี้ยงแขกที่มาฟังสวดทุกคืน

- ถ้าผู้ตายเป็นข้าราชการผู้ใหญ่ หรือเป็นที่เคารพนับถือของคนทั้งหลาย นิยมเปิดโอกาสให้มีการจองเป็นเจ้าภาพบำเพ็ญกุศลอุทิศให้แก่ท่านผู้ล่วงลับไป แล้ว เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อท่านผู้มีพระคุณ หรือ มีอุปการคุณแก่ตน ตามประเพณีนิยมของสังคม

6. การฌาปนกิจศพ
- การฌาปนกิจศพ ได้แก่ การปลงศพ หรือ เผาศพ เจ้าภาพจะต้องกำหนดวันที่จะทำการฌาปนกิจศพที่แน่นอน แล้วทำความตกลงกับเจ้าหน้าที่ของวัดหรือฌาปนสถานก่อนทั้งนี้เพื่อเป็นการ เลือกจองวันและเวลาที่ต้องการ

- กรณีบรรจุเก็บศพไว้ก่อนที่จะทำการฌาปนกิจ จะต้องนำศพมาตั้งสวดพระอภิธรรมอีกวาระหนึ่ง โดยสวดก่อน 1 คืนแล้ววันรุ่งขึ้นจะทำพิธีฌาปนกิจ

- หรืออาจจะไม่ตั้งสวดพระอภิธรรมอีก เพียงแต่ยกศพขึ้นตั้ง ในตอนเช้าเลี้ยงพระเพลและนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นเทศน์พระธรรมเทศนาในบ่าย แล้วทำการฌาปนกิจศพในตอนเย็น การกระทำเช่นนี้มักเรียกกันว่า "ตั้งเช้า เผาเย็น"

- ถ้าหากศพนั้นเป็นบุพการี สามี ภรรยา ก็ควรตั้งสวดพระอภิธรรมอีกคืนหนึ่งก่อน เพื่อเป็นเกียรติและระลึกถึงผู้ตายอีกทั้งเป็นการบำเพ็ญกุศลเพิ่มเติมให้อีก

ตัวอย่างลำดับพิธีการฌาปนกิจศพ DEMO


09.00 น.    - เชิญศพขึ้นตั้งบนศาลาบำเพ็ญกุศล
10.15 น.    - นิมนต์พระสงฆ์ประจำที่อาสน์สงฆ์
10.20 น.    - เจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
10.25 น.    - อาราธนาพระปริตร (กรณีจัดพิธีสวดพระพุทธมนต์ตอนเช้า)
10.30 น.    - พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์
11.00 น.    - ถวายภัตตาหารเพลและเครื่องไทยธรรม
12.00 น.    - เลี้ยงอาหารกลางวันแก่ญาติมิตรและแขกที่มาในงาน
14.00 น.    - นิมนต์พระเทศน์ขึ้นบนอาสน์สงฆ์
14.05 น.    - เจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย จุดเทียนกัณฑ์เทศน์และหน้าที่ตั้งศพ
14.10 น.    - อาราธนาศีล อาราธนาธรรม พระสงฆ์แสดงพระธรรมเทศนา จบแล้วถวายกัณฑ์เทศน์
15.00 น.    - นิมนต์พระสงฆ์ 10 รูป ขึ้นอาสน์สงฆ์พร้อมกัน เพื่อสวดมาติกาบังสุกุล
15.30 น.    - เคลื่อนศพเวียนเมรู 3 รอบ (พระสงฆ์นำศพ 1 รูป)
15.45 น.    - เชิญศพขึ้นสู่เมรุ แจก ของชำร่วยงานศพ
16.00 น.    - อ่านคำและยืนไว้อาลัย (ถ้ามี)
                     - เจ้าภาพเชิญแขกผู้ใหญ่ทอดผ้าบังสุกุล (ลำดับจากผู้อาวุโสน้อยไปมาก)
                     - ประธานในพิธีทอดผ้าบังสุกุลหน้าหีบศพ
                     - เจ้าภาพเชิญแขกขึ้นประชุมเพลิง

 

บทความ - บทเกริ่นนำ

"...งานศพมันจะมีหลายราคาตั้งแต่หมื่นต้นๆ ไปเป็นแสนก็มี คือ คนเขาเยอะ พอคนเยอะเขาก็จะใช้ของเยอะ ส่วนหนึ่งดูที่แขก แขกเยอะ หรือ สวดนาน บางคนสวด 5 คืน 7 คืน ค่าใช้จ่ายก็จะเยอะขึ้น ทั้งเรื่องของเรื่องอาหาร เรื่องค่าแรง ส่วนการฝากศพนั้น วัดจะมีโกดัง ฝากไว้ร้อยวันได้เลย เสร็จแล้วก็บริจาคตามศรัทธาซึ่งตรงนี้วัดไม่ได้กำหนดว่าต้องจ่ายเท่าไหร่...”

picgtgtgdddd19 16

ในการสำรวจตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับ วัดไทย 2 ตอน ที่ผ่านมา คือ ชำแหละพุทธพาณิชย์(1)สำรวจกิจกรรมบุญ5วัดอารามหลวง-'สังฆทานเวียน'200บ./ถัง และ ชำแหละพุทธพาณิชย์ (2) เปิดรายได้กฐินวัดราษฎร์ ปีละล้านเศษ-ค่าให้ยืมของ2หมื่น/ด. สาธารณชน คงได้เห็นภาพข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเป็นพุทธพาณิชย์ กันไปพอสมควรแล้ว 

คำถามที่น่าสนใจ คือ  'พิธีฌาปนกิจ' หรือ 'งานศพ' ของวัดไทย ในปัจจุบันเข้าข่ายความเป็น พุทธพาณิชย์ ด้วยหรือไม่ 

ทั้งนี้ จากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดงานศพที่วัดของคนทั่วไป พบเหตุผลว่า การจัด 'พิธีฌาปนกิจ' หรือ 'งานศพ' คนส่วนใหญ่นิยมจัดที่วัดที่ใกล้บ้าน วัดที่พุทธศาสนิกชนนับถือ หรือวัดที่เดินทางง่าย 

ลักษณะการดำเนินงานจะเป็นไปอย่างเป็นระบบ โดยทางวัดจะเตรียมความพร้อมของการจัดพิธีฌาปนกิจให้พร้อมสรรพ บางวัดที่มีบริการแบบครบวงจร อาทิ การรับศพ ทำพิธี จัดทำดอกไม้ พวงหรีดประดับพิธี ซึ่งทางวัดจะมีการประสานงานกับร้านดอกไม้ให้ด้วย การจัดอาหารรับรองแขก ส่วนนี้เจ้าภาพสามารถเลือกได้ว่าจะใช้เป็นอาหารหม้อ (ก๋วยเตี๋ยว ข้าวต้ม กระเพาะปลา) หรือ ใช้เป็นอาหารว่าง และจะทำเป็นแบบนี้ไปจนถึงกำหนดเผา ซึ่งทั้งหมดนี้ทางวัดจะมีเจ้าหน้าที่คอยบริการดูแลให้ตลอดงาน เรียกได้ว่าการใช้พิธีแบบครบวงจรนั้นเจ้าภาพไม่ต้องลำบากมาก แต่ทางเลือกนี้จะมีเรทราคาที่ค่อนข้างสูงเช่นกัน

แต่หากเจ้าภาพไม่ต้องการบริการที่ครบวงจรจากทางวัด เจ้าภาพสามารถจัดการเรื่องอาหารรับรองแขก ดอกไม้ เครื่องบูชาภายในพิธีต่างๆ และของชำร่วย ด้วยตนเอง ทั้งนี้ตัวเลือกนี้ก็สามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้บางส่วน

อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีว่างานศพหนึ่งงาน เสียค่าใช่จ่ายไปไม่ใช่น้อยๆ

ทีมข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ได้สำรวจ 4 วัดในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ วัดลาดพร้าว วัดหัวลำโพง วัดแคนอก(นนทบุรี) และวัดอดิศร(ปทุมธานี) เกี่ยวกับเรื่องค่าใช่จ่ายงานศพ พบว่า  ในส่วนของการใช้ศาลาวัดนั้น วัดบางแห่งจะไม่มีกำหนดราคาตายตัว เจ้าภาพจะให้เท่าไหร่ก็ได้ตามกำลังศรัทธา แต่ก็มีบางวัดเช่นกันอย่างวัดหัวลำโพง ที่มีการกำหนดราคาศาลาตายตัว คือ ศาลาใหญ่ 2,000 บาท ศาลากลาง 1,000 บาท และศาลาเล็ก 800 บาท 

นอกจากนี้ยังมีค่าน้ำ-ค่าไฟ ค่าแรงคนงาน ที่ยังคงแล้วแต่กำลังศรัทธา แต่ในส่วนของน้ำมันเผาศพนั้น ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 2,000 – 3,000 บาท มีปริมาณน้ำมันตั้งแต่ 70 – 80 ลิตร ที่ต้องจ่ายอย่างเลี่ยงไม่ได้ ส่วนเรื่องปัจจัยถวายพระก็แล้วแต่กำลังศรัทธาเช่นกัน ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆ นั้นขึ้นอยู่กับเจ้าภาพ

picbggdddddd

นายทวีชัย ทองโฉม ไวยาวัจกรประจำวัดแคนอก ให้ข้อมูลว่า การจัดพิธีฌาปนกิจนั้น สิ่งหลักที่เริ่มจ่ายเลยคือค่าโลงศพที่มีหลายรูปแบบให้เลือกมีราคาตั้งแต่หลักพันบาท ไปจนถึงหลักแสนบาท ด้านการทำพิธีในวัดนั้นจะขึ้นอยู่กับความศรัทธา แต่จำนวนแขกที่มาร่วมงานและระยะเวลาในการจัดสวดพระอภิธรรมศพ โดยเวลาก็จะมี 3 คืน 5 คืน 7 คืน บางคนที่มีหน้าที่การงานดี แขกเขาจะเยอะ และสวดหลายคืน ทำให้เสียค่าใช้จ่ายตรงนี้มาก

“ค่าโลงศพ ถ้าขนาดเล็กๆ เลยก็ 2,500 เขาเรียกโลงขอบ ไม่มีชั้น ถ้าเป็น 2 ชั้นขึ้นไปก็ประมาณ 4,500 3 ชั้นก็จะแพง 5,500 หรือว่ามันจะเป็นโลงลายมุก ลายไม้สัก ก็ยิ่งแพงเข้าไปใหญ่ ค่าจองศาลามันจะเป็นบางที่นะ ที่นี่เขาไม่เรียกร้อง อย่างที่อื่นเขาจะคิดค่าศาลา ประมาณคืนละ 1,500 แต่ที่นี่ไม่เรียกร้องอะไร แล้วแต่ศรัทธา พอจบงานก็แล้วแต่เจ้าภาพจะให้เท่าไหร่" 

"งานศพมันจะมีหลายราคาตั้งแต่หมื่นต้นๆ ไปเป็นแสนก็มี คือคนเขาเยอะ พอคนเยอะเขาก็จะใช้ของเยอะ ส่วนหนึ่งดูที่แขก แขกเยอะ หรือสวดนาน บางคนสวด 5 คืน 7 คืน ค่าใช้จ่ายก็จะเยอะขึ้น ทั้งเรื่องของ เรื่องอาหาร เรื่องค่าแรง ส่วนการฝากศพนั้น วัดจะมีโกดัง ฝากไว้ร้อยวันได้เลย เสร็จแล้วก็บริจาคตามศรัทธาซึ่งตรงนี้วัดไม่ได้กำหนดว่าต้องจ่ายเท่าไหร่ ”

“จริงๆ การจัดงานศพพระเขาจะไม่ยุ่งนะ การจัดงานพิธีมันเป็นเรื่องของส่วนศาสนสถานซึ่งในส่วนของสถานศาสนสถานจะเป็นของฆราวาสเข้ามาจัดแจง วัดไม่สามารถเรียกร้องได้ ทุกอย่างต้องแล้วแต่กำลังของเจ้าภาพ แต่จะมีบางที่ ที่ฆราวาสเขาเหมาวัดเป็นรายเดือน แล้วมาคิดค่าบริการกับประชาชน แต่วัดนี้ไม่ได้ทำ” ไวยาวัจกรวัดแคกล่าว

picgtgtgfeeeee

ขณะที่ นาย ก. (นามสมมุติ) ที่เพิ่งจัดงานฌาปนกิจที่วัดชลประทาน จังหวัดนนทบุรี ในช่วงกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ให้ข้อมูลว่า ค่าใช้จ่ายในงานศพที่จัดเพียง 5 คืนนั้น มียอดเงินสูงกว่า 60,000 บาท อย่างไรก็ตามเจ้าภาพชี้แจงว่าราคาประมาณนี้ถือว่าเป็นราคาที่ไม่สูงจนเกินไปนัก

“ราคางานศพของที่วัดชลประทานนี่ถือว่าพอประมาณ ไม่ถูกไม่แพงนะ เพราะว่าวัดอื่นอาจจะแพงกว่านี้ วัดนี้ก็โอเค เขาจัดการให้หมด อย่างคนงานที่คอยบริการเครื่องดื่มก็จะมีประจำศาลาเลย เราไม่ต้องไปยุ่งตรงนี้” 

เบื้องต้น ทีมข่าว สำนักข่าวอิศรา ได้จัดทำการจำลองค่าใช้จ่ายในงานศพ 1 งาน ให้ผู้อ่านได้เห็นในรายละเอียดค่าใช้จ่ายทั้งหมดของการจัดงาน โดยพบว่าจะอยู่ที่ยอดประมาณ 65,160 บาท 

ppp

จากภาพจะเห็นถึงรายละเอียดค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จำเป็น ในการจัดงานศพหนึ่งงาน โดยแต่ละงานค่าใช้จ่ายจะต่างกันไป ปัจจัยหลักๆ ที่ส่งผลทำให้ค่าใช้จ่ายสูงในการจัดงานสูงขึ้น คือ จำนวนแขกที่มาร่วมงาน  จำนวนระยะเวลาในการสวดพระอภิธรรม ทั้งนี้ ยังขึ้นอยู่กับวัดที่จัดพิธีด้วย เพราะสำหรับงานฌาปนกิจศพที่มีแขกมาร่วมงานมาก จะยิ่งทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูงขึ้น เนื่องจากศาลาที่ใช้บรรจุ อาหารที่ใช้รับรอง และของชำร่วยจะต้องมีการเพิ่มปริมาณตามจำนวนคน ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการจัดงานสูงขึ้นตามไปด้วย