"จิตสาธารณะ" เป็นเรื่องสำคัญระดับประเทศ ที่จะช่วยพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในเยาวชนไทย/คนไทยที่จะช่วยให้สังคมอยู่รอดได้....

           หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551  ซึ่งจะเริ่มใช้ในลักษณะทดลองนำร่องในปี 2552 และใช้แบบทั่วไปในทุกโรงเรียน ในปี 2553 ตามหลักสูตรนี้ นอกจากการเรียนรู้ใน 8 กลุ่มสาระแล้ว ในส่วนของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนก็ถือเป็นส่งสำคัญยิ่ง ซึ่ง
 
หลักสูตร ได้จำแนกกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็น 3 ลักษณะ คือ 
1) กิจกรรมแนะแนว  
2) กิจกรรมนักเรียนและ  
3) กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์  ซึ่งเป็นหน้าที่ของสถานศึกษาทุกแห่งจะต้องเน้นการสร้างเยาวชนที่มีความสมดุลย์ ลูกศิษย์ต้อง“เป็นคนเก่ง เป็นคนดี  มีคุณลักษณะและมีสมรรถนะตามที่หลักสูตรกำหนด”

         การให้นักเรียนทำกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ เป็นความมุ่งหวังที่จะสร้าง “จิตสาธารณะ” และคุณลักษณะแฝงอื่น ๆ อีกมากมาย ผ่านกิจกรรมนี้
ในการสร้างจิตสาธารณะ คงมีหลายแนวทาง “สถานศึกษาจะต้องคิดกิจกรรม ที่มีความเป็นไปได้ ง่าย และสะดวกในการปฏิบัติ แต่ให้ผลดี”  ต่อไปนี้ อาจเป็นเพียงตัวอย่างส่วนหนึ่งเพื่อการสร้างจิตสาธารณะแก่นักเรียน

1) ส่งเสริมให้เด็กมีความสามารถในการดูแลรักษาบ้าน และรับผิดชอบงานบ้าน ถือเป็นงานสาธารณะที่ใกล้ตัวที่สุด โดยมีพฤติกรรมที่เป็นรูปธรรม เช่น  ตื่นนอนแต่เช้า  กวาดบ้าน-ถูบ้าน จัดระเบียบ/กวาดบริเวณบ้าน

2) ส่งเสริมให้เด็กร่วมรับผิดชอบในการดูแลรักษาซอย/หมู่บ้านที่อยู่อาศัย  โดยมีพฤติกรรมที่เป็นรูปธรรม เช่น  ปลูกต้นไม้ (ไม้ดอก ไม้ประดับ) หน้าบ้านพร้อมดูแลรักษา กวาด/ทำความสะอาดถนนหรือที่สาธารณะรอบบ้านในรัศมี 5 เมตร  เป็น กรรมการฝ่ายเยาวชนเพื่อการดูแลรักษาซอย/หมู่บ้านที่อยู่อาศัย เป็นต้น (หากสถานศึกษากำหนดคุณสมบัติของเยาวชนที่เป็นรูปธรรม ดังตัวอย่างข้างต้น พร้อมผลักดัน หรือส่งเสริมให้เกิดคุณลักษณะต่าง ๆ เหล่านั้นอย่างจริงจัง ท่านเชื่อหรือไม่ว่า “ชุมชนจะเป็นแหล่งที่น่าอยู่ในชั่วพริบตา”  อีกทั้งเยาวชนจะเกิดคุณลักษณะอื่น ๆ ตามมา เช่น ความเสียสละเพื่อส่วนรวม  ทักษะการจัดการ ฯลฯ)

3) จัดกิจกรรมเพื่อชี้นำทิศทางการพัฒนาหรือแก้ปัญหาให้แก่ชุมชน  อาทิ  ในช่วงฤดูกาลของการเสียภาษีเงินได้ประจำปี  ครูคณิตศาสตร์มอบหมายให้นักเรียนสอบถามเงินได้ของพ่อแม่และนำใบคำนวณภาษี (ภ.ง.ด.91) มาคำนวณที่โรงเรียนแล้วมอบหมายให้นักเรียนนำกลับไปบ้านเพื่อหารือกับคุณพ่อ-คุณแม่เพื่อชำระภาษีต่อไป  ครูวิทยาศาสตร์/ครูสังคมศึกษาให้นักเรียนร่วมปฏิบัติการรณรงค์การลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในบ้าน  ครูสุขศึกษาร่วมกับชุมนุมสุขภาพในโรงเรียนจัดทำจดหมายเตือนหรือปฏิบัติกิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งยุงลายเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก  โรคหวัดสายพันธุ์ใหม่ หรือโรคอื่น ๆ เป็นต้น

4) สถานศึกษาเป็นแกนนำในการพัฒนาชุมชนในรัศมีที่เป็นที่ตั้งของสถานศึกษา เช่น รับผิดชอบดูแลในรัศมี 1 กิโลเมตร รอบสถานศึกษา โดยร่วมกับชุมชนอย่างจริงจังในการพัฒนาบรรยากาศ/สิ่งแวดล้อมของชุมชน ทั้งนี้ อาจปฏิบัติการผ่านกิจกรรมชุมนุมที่มีอยู่ในโรงเรียน  และเน้นให้นักเรียนมีบทบาทหลักในการร่วมวางแผนพัฒนา  การปฏิบัติการเช่นนี้ เสมือน “การใช้ชุมชนที่เป็นที่ตั้งของสถานศึกษา เป็นห้องปฏิบัติการทดลองประสบการณ์ชีวิตต่าง ๆ แก่ผู้เรียน”  ทั้งนี้เชื่อว่า หากนักเรียนมองเห็นแนวทางการพัฒนาชุมชนที่เป็นรูปธรรม 1 ชุมชน   นักเรียนเหล่านั้นจะสามารถนำประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้ในชุมชนที่อยู่อาศัยของตนเองได้ในอนาคต  อีกทั้ง โรงเรียนเองก็จะเป็นที่รักใคร่/เป็นที่พอใจของชุมชนที่เป็นที่ตั้งของโรงเรียน เป็นโรงเรียนของชุมชนอย่างแท้จริง(อนึ่งชุมชนอาจให้การสนับสนุนงบประมาณเพื่อการทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ในส่วนนี้)

5) ประสานงานกับผู้ปกครอง หรือเครือข่ายผู้ปกครอง ให้ร่วมกันวางแผนเพื่อทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ร่วมกันเป็นวงศ์ตระกูล  โดย วางแผนเป็นรายปี พร้อมแจ้งแผนงานให้โรงเรียนทราบตั้งแต่ต้นปี การกระทำเช่นนี้ นอกจากจะเป็นการแบ่งเบาภาระของโรงเรียนในการส่งเสริมให้นักเรียนจัดทำ กิจกรรมสาธารณประโยชน์แล้ว ยังเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว และส่งเสริมให้ครอบครัวไทย “มีจิตสาธารณะไปในตัวด้วย”
      
แนวทางการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีจิตสาธารณะคงทำได้หลายแนวทาง ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงตัวอย่างกิจกรรมส่วนหนึ่งเท่านั้น ...ปัญหาอยู่ที่ว่าเราจะทำกันอย่างจริงจังเพียงใด เราเห็นคุณค่าของเรื่องนี้มากน้อยเพียงใด...ถ้าทุกคนคิดว่า จิตสาธารณะเป็นเรื่องสำคัญระดับประเทศ เป็น 1 คุณลักษณะที่จะช่วยให้สังคมอยู่รอดได้....ถ้าคิดเช่นนี้  เราลองมาช่วยกัน โดยการร่วมแรงร่วมใจ ร่วมมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย  นอกจากหลักสูตรจะประสบความสำเร็จแล้ว  ประเทศไทยก็คงประสบความสำเร็จไปด้วย 

 

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้คิด ริเริ่มและสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์ทั้งภายในสถานศึกษา และภายนอกสถานศึกษา ผ่านรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย
  2. เพื่อให้นักเรียนเกิดความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ด้วยจิตอาสา
  3. เพื่อสร้างนักเรียนแกนนำ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่สามารถเผยแพร่ความรู้ ประสบการณ์ และสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในโรงเรียนและชุมชน โดยใช้ไอที และเทคโนโลยี
  4. เตรียมพร้อมสำหรับนักเรียนแกนนำ หลักสูตร จิตอาสาพระราชทาน 904 มาใช้ในกิจกรรมชุมนุมเมื่อมีการโปรดเกล้า ให้เปิดอบรมสำหรับโรงเรียน
  5. จัดเตรียมฝึกอบรมสมาชิคในชุมนุม เพื่อลงทะเบียนเป็น "เป็นจิตอาสาพระราชทาน เมื่อมีการเปิดรับสมัคร"

เป้าหมายด้านปริมาณ

  1. นักเรียนในระดับประถมศึกษา 1 ถึง 6 มีสมาชิคชุมนุม  จำนวน  30 คน
  2. กิจกรรมชมรม(ทุกวันศุกร์)    จำนวน    16 ครั้ง/ภาคเรียน
  3. กิจกรรมอบรมให้ความรู้จากวิทยากร     จำนวน      1 ครั้ง/ภาคเรียน
  4. กิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อม (ภายในสถานศึกษา)   จำนวน     1 ครั้ง/ภาคเรียน
  5. กิจกรรมเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน    จำนวน      1 ครั้ง/ภาคเรียน
  6. กิจกรรมฟื้นฟูสภาพป่าชายเลน (ภายนอกสถานศึกษา)     จำนวน      1 ครั้ง/ปี
  7. รายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ    จำนวน      1 เล่ม/ภาคเรียน
  8. เผยแพร่ทางเว็บไซต์(อินเตอร์เน็ตของโรงเรียน) จำนวน    1 เว็บไซต์/ภาคเรียน
  9. เผยแพร่ทางเว็บไซต์(ระบบไฟล์แชริ่งภายในโรงเรียน) จำนวน 1 เว็บไซต์/ภาคเรียน
  10. ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์พร้อมรณรงค์ ผ่านสื่อโซเซียลมีเดีย

ด้านคุณภาพ  

  1. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการสามารถเป็นแกนนำในการให้ความรู้ความเข้าใจ สร้างความตระหนัก ปลูกจิตสำนึกให้กับนักเรียนภายในโรงเรียนและชุมชน ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ด้านไอทีสาธารณะ
  2. นักเรียนภายในโรงเรียน มีความความรู้ความเข้าใจ มีความตระหนัก และมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติด้านไอทีสาธารณะ  ด้วยจิตอาสา

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

  1. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 100  เป็นนักเรียนแกนนำ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่สามารถเผยแพร่ความรู้ ประสบการณ์ และสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในโรงเรียนและชุมชน โดยใช้ไอทีในการจัดการสาธารณะ
  2. นักเรียนภายในโรงเรียน ร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจ มีความตระหนัก มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการใช้ความรู้ความสามารถด้านไอที

กลยุทธ์ระดับองค์กร ข้อที่ 1  3   

1. เร่งรัดการปฏิรูปการจัดการศึกษาโดยยึดคุณธรรมนำความรู้

3. พัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา

 

มาตรฐานคุณภาพการศึกษา ข้อที่ 1   4     5    6    14   15

มาตรฐานที่  1   ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและมีค่านิยมที่พึงประสงค์

มาตรฐานที่  4   ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์

มาตรฐานที่  5   ผู้เรียนมีความรู้ และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร

มาตรฐานที่  6   ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

มาตรฐานที่ 14  สถานศึกษามีการจัดหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

มาตรฐานที่ 15  สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย

คุณสมบัติ ผู้สมัคร
 
- เป็นนักเรียน ชาย / หญิง ในโรงเรียน ที่กำลังศึกษาในปีภาคเรียน 1/2563
- ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6  จำนวน 30 คน
- เป็นผู้มีจิตใจอาสา สามารถใช้ไอที พื้นฐานได้
 
การรับสมัคร 
 
-สมัครโดยการลงทะเบียน ผ่านเว็บไซต์ของโรงเรียน  www.sumontarsuksa.ac.th
- การพิจรณา โดยตามคุณสมบัติข้างต้น และลำดับการสมัคร
- เปิดรับสมัคร ในวันทีี่ ศุกร์ ที่่ 5 มิ.ย. 63 เวลา 10.00 น. เป็นต้น ไปจนกว่าจะครบตามจำนวน 
- ประกาศรายชื่อสมาชิคชมรม ในวันอังคาร ที่ 9 มิ.ย. 63 ทางเว็บไซต์ของโรงเรียนและสื่ิอโซเซียลของโรงเรียน 
 
สิทธิพิเศษ ที่สมาชิคชุมนุมจะได้รับ
 
-รับฟรีอีเมลโรงเรียน xx(ชื่อนักเรียน)@sumontar.com หรือ @sumontarsuksa.ac.th
-รับฟรีพื้นท่ี่เว็บไซต์พร้อมโดเมน xxxx(ชื่อเว็บ).sumontar.com จำนวน  1 โดเมนเนม
-ออกค่ายอาสาทำกิจกรรม โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
-แสดงผลงานกิจกรรมบนสื่อโซเซียลหรือเว็บไซต์
-cloud Drive คลาวน์ไดร์ของโรงเรียน พื้นที่เก็บข้อมูล รูปภาพ วิดีโอ ไฟล์งาน ไฟล์   ดิจิตอล และโปรไฟล์ส่วนตัว จำนวน 50 GB ต่อปี
-สิทธิในการเข้าใช้ Microsoft Education
 
ปุ่มลงทะเบียน | Richpassive
 
รายละเอียดอื่นๆ ( รอเพิ่มข้อมูล )