6 มาตรการ 'รถรับส่งนักเรียน' ปลอดภัยห่างไกล COVID-19

 

"กรมการขนส่งทางบก" แนะ 6 มาตรการ "รถรับส่งนักเรียน" ปลอดภัยห่างไกล COVID-19 กำชับสำนักงานขนส่งทั่วประเทศตรวจสอบรถรับส่งนักเรียนในพื้นที่ ให้ปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด ต่อเนื่องตลอดภาคการศึกษา สร้างความเชื่อมั่นให้นักเรียนและผู้ปกครอง

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้ประกาศให้สถานศึกษาเปิดภาคการศึกษา 2563 ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2563 เป็นต้นไปนั้น โดยให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องมีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดภาคการศึกษา กรมการขนส่งทางบก จึงกำหนดมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับรถรับส่งนักเรียน เพื่อให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้รถรับส่งนักเรียนปฏิบัติตามตลอดภาคการศึกษา ดังนี้

  • มาตรการคัดกรอง พนักงานขับรถรับส่งนักเรียน ผู้ควบคุมนักเรียน จะต้องผ่านการคัดกรอง และตรวจวัดอุณหภูมิ ก่อนการขับรถรับส่งนักเรียน หากอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ห้ามขับรถโดยเด็ดขาด รวมถึงจัดให้มีการคัดกรองและตรวจวัดอุณหภูมินักเรียนก่อนใช้บริการด้วยเช่นกันและสามารถปฏิเสธการให้บริการในกรณีที่พบว่านักเรียนมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส
  • สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดการเดินทาง ทั้งพนักงานขับรถ ผู้ควบคุมนักเรียน และนักเรียนที่ใช้บริการ การล้างมือ
  • จัดให้มีแอลกอฮอล์ชนิดเจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคประจำรถ

 

 

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน  ขอให้โรงเรียนเอกชนเข้มงวดในเรื่องการรับ - ส่งนักเรียน และปฏิบัติตาม กฏหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันอุบัติเหตุต่างๆ ที่เกี่ยวกับรถรับ - ส่งนักเรียน จนเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสียทั้งทางร่างกายและจิตใจ

เอกสาร และคู่มือต่าง

1. เอกสารเผยแพร่ 8 แนวทางดีๆ จัดระบบรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย โดย สสส

2. โครงการศึกษาวิจัย : การขับเคลื่อนมาตรฐานความปลอดภัยรถรับส่งนักเรียน

3. แนวทาง 6 มาตรการ 'รถรับส่งนักเรียน' ปลอดภัยห่างไกล COVID-19

4. ผู้ที่ประสงค์จะนำรถไปใช้รับส่งนักเรียนมีเงื่อนไขและวิธีการดังนี้ กรมขนส่งทางบก


  1. ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ณ ที่ทำการของนายทะเบียนที่รถนั้นอยู่ในเขตความรับผิดชอบ

  2. ต้องเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน แต่ไม่เกินสิบสองคน (รย.2) ตามกฎหมาย ว่าด้วยรถยนต์ เข้ารับการตรวจสภาพพร้อมหลักฐานประกอบคำขอเช่น ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของรถ ใบคู่มือจดทะเบียนรถหรือภาพถ่าย

  3. ต้องมีอุปกรณ์สำหรับรถครบถ้วนถูกต้อง ตามที่กฎหมายกำหนด และเป็นรถที่ไม่ค้างภาษีประจำปี รวมทั้งต้องจัดให้มีอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย คือ
    1. แผ่นป้ายพื้นสีส้มขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 25 ซม. ยาวไม่น้อยกว่า 60 ซม.และ มีข้อความว่า “รถรับ-ส่งนักเรียน” เป็นตัวอักษรสีดำความสูงไม่น้อยกว่า 15 ซม. ติดด้านหน้าและด้านท้ายของตัวรถ
    2. ไฟสัญญาณสีเหลืองอำพันหรือสีแดงปิดเปิดเป็นระยะติดไว้ที่ด้านหน้าและ ด้านท้ายของตัวรถ
    3. ต้องมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นเพื่อช่วยเหลือนักเรียนเมื่อมี อุบัติเหตุหรือเหตุ ฉุกเฉินเกิดขึ้น เช่น เครื่องดับเพลิงที่มีขนาดพอสมควรและติดตั้งไว้ภายในรถที่เหมาะสม ปลอดภัย พร้อมที่จะใช้งานได้ทุกขณะ ค้อนทุบกระจก 1 อัน สำหรับรถที่มีลักษณะเป็นรถตู้โดยสารเก็บไว้ในที่ ปลอดภัย และสามารถนำมาใช้งานได้โดยสะดวก

  4. ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้รถรับ-ส่งนักเรียนต้องไม่บรรทุกหรือยินยอมให้ผู้อื่น บรรทุก ผู้โดยสารอื่นปะปนไปกับนักเรียน เว้นแต่ผู้ควบคุมดูแลนักเรียนหรือผู้ปกครอง

  5. ผู้ขับรถนักเรียนต้องไม่มีประวัติเสียหาย ซึ่งเกิดจากการขับรถและต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตขับรถทุกประเภทตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกหรือใบอนุญาตขับรถยนต์ สาธารณะหรือมีใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี

  6. ต้องจัดให้มีผู้ควบคุมดูแลนักเรียน ซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ประจำอยู่ในรถตลอดเวลาที่ใช้รับส่งนักเรียน

  7. ผู้ขออนุญาตให้ใช้รถรับส่งนักเรียนต้องส่งนักเรียนให้ถึงโรงเรียนหรือที่ อยู่อาศัยหรือ ส่งมอบให้แก่ผู้ปกครองโดยตรงหรือส่ง ณ สถานที่ตกลงกัน

  8. หนังสืออนุญาตให้ใช้รับ-ส่งนักเรียนให้ใช้รับส่งนักเรียนได้ไม่เกินครั้งละ 6 เดือน นับแต่วันอนุญาต

  9. นายทะเบียนมีอำนาจออกหนังสืออนุญาตให้ใช้รถในการรับ-ส่งนักเรียนในเขต จังหวัดที่จดทะเบียนไว้ เว้นแต่กรณีผู้ขออนุญาตมีความจำเป็นต้องใช้รถรับ - ส่งนักเรียนไปยังเขตจังหวัดอื่นที่มีพื้นที่ติดต่อกันเท่านั้น

  10. ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้รถรับส่งนักเรียนฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด จะถูกยกเลิกการขออนุญาตจากนายทะเบียน