การจัดการ Server (Linux) ผู้ดูแลจะต้องมีทักษะและความเข้าใจ ซึ่งแต่ละคำสั่งล้วนแต่มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน หลายท่านอาจเคยลองใช้งานกันมาบ้างแล้ว ในบทความนี้เราจะรวบรวมคำสั่งเบื้องต้น และอธิบายวิธีการใช้งานง่ายๆ สำหรับผู้ดูแล server ที่ยังไม่มีประสบการณ์

cd

คำสั่งเริ่มต้นการใช้งานบน server เป็นคำสั่งที่ใช้ในการเข้าหรือเปลี่ยนไดเร็กทอรี

– การเข้าไปที่ไดเร็กทอรี ตัวอย่างเช่น ต้องการเข้าไปที่ไดเร็กทอรี /etc

# cd /etc

– เมื่อต้องการกลับไปที่ ~ /

# cd ..

– เพื่อออกจากไดเร็กทอรีนี้เพียง 1 ชั้นเท่านั้น แต่ถ้าหากกำลังทำงานอยู่ภายใน path /etc/tes1/test2/test3 สามารถกลับไปที่ /etc โดยใช้คำสั่ง

# cd ../../../
cp

คำสั่งสำหรับสำเนาไฟล์หรือโฟล์เดอร์ไปยัง path อื่นๆ

– สำเนาไฟล์ชื่อ test.txt จากไดเร็กทอรี /tmp ไปยังไดเร็กทอรี /home

# cp /tmp/test.txt /home

– นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนชื่อไฟล์จากคำสั่ง cp ได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น เปลี่ยนชื่อไฟล์ test เป็นชื่อ test1 และย้ายจาก path /tmp ไปยัง path /home โดยใช้คำสั่ง

# cp /tmp/test.txt /home/test1
grep

คำสั่งสำหรับค้นหาคำ ตามเงื่อนไขที่ต้องการ

– ค้นหาบรรทัดที่มีคำว่า ftp โดยเพิ่ม -i ต่อท้ายเพื่อค้นหาแบบไม่สนใจว่าจะเป็นตัวพิมพ์เล็กหรือตัวพิมพ์ใหญ่ จากไฟล์ /tmp/messages

# grep -i ‘ftp’ /tmp/messages
ll

คำสั่งสำหรับแสดงไฟล์หรือโฟลเดอร์ภายในไดเร็กทอรี

– แสดงไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ในไดเร็กทอรี /etc หากต้องการให้เรียงไฟล์ปัจจุบันไปยังอดีต สามารถเพิ่ม -th ต่อท้าย

# ll
หรือ
# ll -th

cat

คำสั่งสำหรับแสดงข้อความในไฟล์

– อ่านข้อมูลจากไฟล์ tmp/test

# cat tmp/test

vi

คำสั่งสำหรับสร้างหรือแก้ไขไฟล์ข้อมูล

– หากต้องการเพิ่มข้อความภายในไฟล์ text.txt กด Esc 1 ครั้ง แล้วกด i เท่านี้ก็สามารถแก้ไขไฟล์ที่ต้องการได้ทันที และเมื่อแก้ไขข้อความเรียบร้อยแล้วต้องการ Save ให้กด Esc 1 ครั้ง แล้วกด :wq! หากไม่ต้องการ Save กด :q!

# vi tmp/text.txt
touch / mkdir

คำสั่งที่ใช้สำหรับสร้างไฟล์และไดเร็กทอรี

– สร้างไฟล์ชื่อ test ใน path /home

# touch /home/test

– สร้างไดเร็กทอรีชื่อ tmp ใน path /home

# mkdir /home/tmp
history

คำสั่งที่ใช้สำหรับดูประวัติการใช้ command line

– สามารถเพิ่มค่าตัวเลขต่อท้าย  ตัวอย่างเช่นใส่ค่า 50 ต่อท้าย เพื่อแสดง 50 คำสั่งย้อนหลังที่ใช้งานล่าสุด

# history 50
pwd

คำสั่งสำหรับแสดงว่าปัจจุบันอยู่ในไดเร็กทอรีใด

– ตัวอย่างเช่น แสดงผลลัพธ์ /home/test1/public_html

# pwd

cal

คำสั่งแสดงปฏิทิน และวันเดือนปี

date

คำสั่งแสดงวันที่ เวลาปัจจุบัน

chmod

คำสั่งสำหรับกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงไฟล์ แต่ละไฟล์จะมีทั้งหมด 3 ส่วน คือ เจ้าของ (Owner), คนในกลุ่ม (Group), คนทั่วไป (Other) การกำหนดสิทธิ์ของแต่ละไฟล์ ว่าสามารถ อ่านได้ เขียนได้ และประมวลผลได้ ซึ่งคำสั่งนี้จำเป็นมากสำหรับผู้ดูแลระบบ Webmaster

การกำหนดสิทธิ์มี 3 แบบ ดังนี้

R  มาจาก Read หมายถึง อ่าน
W มาจาก Write หมายถึง เขียน
X  มาจาก Execute หมายถึง ประมวลผล

ตัวเลขของ Mode

RWX = 7 อ่าน เขียน และประมวลผลได้
R-X   = 5 อ่านและประมวลผลได้
RW   = 6 อ่านและเขียนได้
R—   = 4 อ่านได้อย่างเดียว
–X    = 1 ประมวลผลได้อย่างเดียว
—     = 0 ไม่มีสิทธิ์

ยกตัวอย่างการกำหนดสิทธิ์และอธิบายความหมาย

RWXRWXRWX = 777 เจ้าของ สมาชิกกลุ่มเดียวกัน และคนทั่วไปมีสิทธิ์ทุกอย่าง
RWXR-XR-X     = 755 เจ้าของทำได้หมด ส่วนกลุ่มและคนทั่วไปอ่านและประมวลผลได้
RWXRWX—     = 770 เจ้าของ และสมาชิกกลุ่มเดียวกันมีสิทธิ์ทุกอย่าง
RWX——         = 700 เจ้าของเท่านั้นที่มีสิทธิ์ทุกอย่าง
R–R–R–            = 444 ทุกคนสามารถอ่านได้อย่างเดียว

– ตัวอย่างการใช้คำสั่ง กำหนดสิทธ์ให้กับไฟล์ชื่อ test จากค่าเดิม 644 เป็น 777

# chmod 777 test

ค่าเดิม 644

ค่าใหม่ 777

chown

คำสั่งสำหรับเปลี่ยนชื่อเจ้าของไฟล์

– จากคำสั่ง chmod ทำให้ทราบกันแล้วว่า แต่ละไฟล์จะมีทั้งหมด 3 ส่วน คือ เจ้าของ, คนในกลุ่ม และคนทั่วไป เมื่อเราต้องการจะเปลี่ยนเจ้าของ ก็สามารถทำได้ไม่ยุ่งยาก ตัวอย่างเช่น เปลี่ยนเจ้าของไฟล์ test ให้เป็น user1 และอยู่ในกลุ่มของ admin โดยใช้คำสั่ง

# chown user1 admin test
chgrp

คำสั่งสำหรับเปลี่ยนชื่อกลุ่ม

– จากคำสั่ง chmod ทำให้ทราบกันแล้วว่า แต่ละไฟล์จะมีทั้งหมด 3 ส่วน คือ เจ้าของ, คนในกลุ่ม และคนทั่วไป เมื่อท่านต้องการจะเปลี่ยนกลุ่ม ก็สามารถทำได้ไม่ยุ่งยาก ตัวอย่างเช่น เปลี่ยนกลุ่มของไฟล์ชื่อ test ให้กลุ่มเป็นชื่อ admin โดยใช้คำสั่ง

# chgrp admin test
mv

คำสั่งสำหรับย้ายไฟล์หรือโฟล์เดอร์

– เมื่อต้องการจะย้ายโฟล์เดอร์ sample จาก path /home ไปยัง path /tmp

# mv /home/sample tmp/

– หากต้องการใช้คำสั่ง mv เปลี่ยนชื่อไฟล์หรือไดเร็กทอรีก็สามารถทำได้ ตัวอย่างเช่น ต้องการเปลี่ยนชื่อจาก sample เป็น example

# mv sample example
rm

คำสั่งสำหรับลบไฟล์หรือโฟล์เดอร์

–  ต้องการจะลบโฟล์เดอร์ example ออกจาก path /home

# rm -rf example

– ต้องการจะลบไฟล์ test ออกจากโฟล์เดอร์ example โดยใช้คำสั่ง

# rm -f test

ข้อควรระวัง ผู้ใช้งานจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าชื่อโฟล์เดอร์หรือไฟล์ที่จะลบออกนั้นเป็นชื่อที่ต้องการจะลบออก และควรตรวจสอบ path ปัจจุบันก่อนว่า ท่านอยู่ถูก path หรือไม่

 

Command เบื้องต้นสำหรับผู้ดูแล Server (Linux) – Part 2