ปัจจุบันมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตกันมากขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่จะเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารในเรื่องการทำงานเท่านั้น ยังรวมถึงการเชื่อมต่อ และสื่อสารกันบนสังคมอ่อนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, Instagram, YouTube และอื่นๆ ซึ่งมีทั้งประโยชน์และเช่นเดียวกัน ช่องทางสื่อสารต่างๆ เหล่านี้ได้กลายเป็นช่องทางที่ทำให้คนบางกลุ่มใช้เป็นช่องทางในการทำผิดกฏหมาย และทำให้รัฐบาลต้องใช้เทคโนโลยีในการสอดส่องเข้ามาช่วย

 

ระบบตรวจสอบใบหน้ามีไว้ทำอะไร?

จริงๆ แล้วเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่เพราะทางรัฐบาลเองก็เคยตั้งงบประมาณถึง 120 ล้านบาทในการจัดทำระบบสอดส่องบนโซเชียลมีเดีย และเริ่มทำงานไปแล้วบางส่วน ล่าสุดก็มีข่าวถึงงบก้อนใหม่ อีก 40 ล้านบาท ในการจัดทำระบบตรวจสอบเปรียบเทียบใบหน้าบุคคลบนสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อใช้ในการระบุตัวตนกับฐานข้อมูลของ ปอท. ซึ่งลักษณะการทำงานของระบบนี้ก็จะเป็นการไล่ตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ของเราที่เคยโพสเอาไว้ไม่ว่าจะเป็นการตั้งสเตตัส การแสดงความคิดเห็น รวมไปถึงการเช็คอินตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าคุณจะมีกี่ Facebook กี่แอคเค้าท์ ระบบก็จะสามารถนำมาเปรียบเทียบ และบันทึกไว้เป็น Database ของคุณนั่นเอง

 

ระบบจะตรวจสอบอะไรบ้าง?

ระบบก็จะเอาไว้สอดส่องโซเชียลมีเดียทั้งหมด ตั้งแต่ Facebook, YouTube, twitter และ Instagram  เพื่อตรวจสอบแอคเคาท์ที่โพสต์ หรือแชร์ข้อมูลที่ผิดกฏหมาย อาทิบิดเบือนข้อเท็จจริง ปลุกระดม ขายสินค้าผิดกฏหมาย ละเมิด และหลอกลวงผู้อื่นทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินและบางรายถึงกับเสียชีวิต ซึ่งระบบนี้สามารถสอดส่อง และติดตามพฤติกรรมของใครก็ได้ที่เข้าข่ายน่าสงสัย

ไม่เพียงเท่านั้น ระบบนี้ยังครอบคลุมถึงการตรวจสอบการภาพถ่ายจากระบบต่างๆ เช่นกล้องวงจรปิด ซึ่งการทำงานอาจจะคล้ายๆ ระบบตาทิพย์ของประเทศจีน ที่พอจับภาพได้ปุ๊บก็สามารถรู้เลยว่า คุณเป็นใครและมีประวัติอะไรบ้าง หากภาพไปจับตรงคนที่น่าสงสัยพอดีก็สามารถติดตามจับกุมกันได้เร็วขึ้นนั่นเอง

 

ระบบนี้น่ากลัวมั้ย ทำไมต้องกลัว?

ถ้าเราไม่ได้ทำอะไรผิดทำไมต้องกลัว? คำพูดนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้องนะ แต่ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นอะไรที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนมากๆ ซึ่งหากระบบนี้สามารถสอดส่องและเก็บข้อมูลต่างๆ ของเราไม่ว่าจะเป็นทางเรื่องการเงิน หรือทางธุรกิจต่างๆ แล้วเกิดวันหนึ่งถูกแฮกขึ้นมา ก็เท่ากับว่าข้อมูลส่วนตัวของเราก็ไม่ปลอดภัยอีกต่อไป แล้วอย่างในกรณีที่มีแอคเค้าท์ปลอม ใช้รูปและโปรไฟล์คนอื่นไปทำเรื่องที่ผิดกฎหมาย ระบบจะจัดการอย่างไร?

อย่างไรก็ตามหากระบบสามารถเข้าไปเช็คข้อมูลที่ตั้งค่าเป็นส่วนตัว หรือ private ได้ ก็เหมือนกับว่าระบบนี้เหมือนเป็นการแฮคข้อมูลหรือลวงละเมิดความเป็นส่วนตัวหรือเปล่า อันนี้ก็ต้องดูกันที่เจตนาอีกที

ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ ปอท. ทำงานกันหนักมาก ในการระบุตัวคนร้าย รวมถึงภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ แม้จะได้รับความร่วมมือจากประชาชนในการแจ้งเบาะแสต่างๆ ก็ตามที ดังนั้นหากระบบนี้สำเร็จอย่างรวดเร็วก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น ไม่ว่าจะไม่ว่าจะเป็นการระบุตัวคนร้าย การระบุตำแหน่งและตามจับ

แต่ก็น่ากลัวเหมือนกันหากว่ามันถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง หรือถูกควบคุมโดยกลุ่มคนที่มีอำนาจและใช้ไปในทางที่ผิด และสำหรับผู้ที่สนใจอยากเข้าร่วมประมูลสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ของ   กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้คับ

 

แหล่งอ้างอิงข้อมูล

ประกาศประกวดราคาจ้างโครงการระบบตรวจสอบเปรียบเทียบใบหน้าบุคคลบนสื่อสังคมออนไลน์


ดาวน์โหลดเอกสาร
                         1. ประกาศ
                         2. เอกสารประกวดราคา
                         3. ขอบเขตงาน
                         4. ราคากลาง

ที่มา  mdes.go.th