Cyber Bullying

โลกในศตวรรษที่ 21 เป็นสังคมไร้พรมแดนทั้งในแง่ของพื้นที่และเวลาที่อาศัยเทคโนโลยีผ่านช่องทางออนไลน์ ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของแต่ละมุมโลกได้อย่างง่ายดาย แต่ความง่ายดายเหล่านี้ได้นำมาซึ่งปัญหาที่เรียกกันทั่วไปว่า Cyberbullying หรือการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ ซึ่งมีการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลในหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป
Cyberbullying: การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ คืออะไร?

การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ คืออะไร?

             การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ (Cyberbullying) เป็นการกระทำรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นบนพื้นที่ออนไลน์ เกิดการละเมิดสิทธิต่างๆ จนทำให้ผู้อื่นหวาดกลัว ตกใจ รู้สึกแย่ ไร้ค่าและกลายเป็นตัวตลกของสังคม ซึ่งจะเห็นได้ชัดในยุคปัจจุบันที่ทุกคนมีโซเชียลมีเดียเป็นของตัวเอง สิ่งนี้เปรียบเสมือนอาวุธที่คอยทิ่มแทงใจคนที่ตกเป็นเป้าหมายของสังคม ตัวอย่างเช่น การรุมด่าทอ การใช้คำพูดที่สร้าง Hate Speech (ทำร้ายด้วยวาจา) ซึ่งการเหล่านี้ผู้กระทำอาจจะไม่ได้คิด แต่ผู้ที่ถูกกระทำอาจจะนำปคิดจนวิตกกังวล กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันการกระทำกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์จนบางครั้งก็อาจเป็นการกระทำที่เลยเถิดไปถึงขั้นผิดต่อกฎหมาย และจริยธรรมบริษัทความปลอดภัยไซเบอร์ Comparitech ได้ทำการรวบรวมสถิติการกลั่นแกล้งบนอินเตอร์เน็ตในช่วงระหว่างปี 2561-2564 ทั้งในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก พบว่ามีสถิติการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์เพิ่มขึ้นทั่วโลก ทั้งนี้ WEF Global press release ได้เผยแพร่งานวิจัยระดับโลกในเรื่องพลเมืองดิจิทัลของโลกมีสาระสำคัญว่า เด็กไทยมีโอกาสเสี่ยงภัยจากพื้นที่ออนไลน์ถึง (60%) ขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ (56%) เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านพบว่าฟิลิปปินส์ (73%) อินโดนีเซีย (71%) เวียดนาม (68%) และสิงคโปร์ (54%)
 

รูปแบบการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์

“การ Cyberbully” คือ การกลั่นแกล้ง คุกคาม หรือระรานผู้อื่นโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ผ่านโซเชียลมีเดีย การส่งข้อความ การเล่นเกม และโทรศัพท์มือถือ การ Cyberbully เป็นพฤติกรรมที่มักเกิดขึ้นซ้ำ ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว ยั่วโมโห หรือสร้างความอับอายให้แก่ผู้ที่ตกเป็นเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น
การกระจายคำโกหกหรือโพสต์รูปที่น่าอับอายของคนบางคนลงบนโซเชียลมีเดีย
ส่งข้อความทำร้ายจิตใจหรือข่มขู่ไปหาคนที่เป็นเป้าหมาย
แกล้งปลอมเป็นเป้าหมายส่งข้อความที่หยาบคายร้ายกาจไปหาคนอื่น

จากการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพประเด็นการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ พบว่า การกลั่นแกล้งทางออนไลน์มีอยู่ทั้งหมด 7 รูปแบบ ได้แก่

การก่อกวน ข่มขู่คุกคาม
การให้ร้ายใส่ความ การแกล้งแหย่
การเผยแพร่ความลับ
การกีดกันออกจากกลุ่ม
การแอบอ้างชื่อ การสร้างบัญชีปลอม
การขโมยอัตลักษณ์
การล่อลวง

Cyberbullying

เมื่อการกลั่นแกล้งเกิดขึ้นในโลกออนไลน์ ผู้ถูกกลั่นแกล้งรู้สึกเหมือนถูกโจมตีอยู่ในทุกที่ทุกเวลา แม้กระทั่งในบ้านของพวกเขาเอง ทำให้รู้สึกว่าไม่มีทางหนีจากการกลั่นแกล้งนั้นได้เลย มันจึงสามารถส่งผลกระทบต่อผู้ถูกกระทำได้เป็นระยะเวลานานในหลายทิศทาง

ทางจิตใจ เช่น ทำให้รู้สึกหงุดหงิด โมโห โง่เขลา และอับอาย
ทางอารมณ์ เช่น รู้สึกละอายใจ สูญเสียความสนใจในสิ่งที่เคยรัก
ทางกาย เช่น เหน็ดเหนื่อยจากการอดนอน ปวดท้อง หรือปวดหัว


ความรู้สึกของการถูกคนอื่นหัวเราะเยาะหรือรบกวน อาจส่งผลให้ผู้คนไม่กล้าพูดถึงปัญหาหรือพยายามหาทางแก้ปัญหาเหล่านั้น ซึ่งในรายที่รุนแรงอาจถึงกับฆ่าตัวตายเลยก็ได้
องค์การยูนิเซฟ (UNICEF) ได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญจากยูนิเซฟ และผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันการระรานทางไซเบอร์และเด็กระหว่างประเทศ (International cyberbullying and child protection experts) พร้อมจับมือกับเฟซบุ๊ก (Facebook) อินสตาแกรม (Instagram) และทวิตเตอร์ (Twitter) เพื่อสำรวจปัญหาการถูก Cyberbully ของเด็ก ๆ ทั่วโลก และให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการรับมือกับการกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์ พวกเขาพบว่า บ่อยครั้งที่เด็ก ๆ บอกไม่ได้ว่าสิ่งที่เพื่อนทำกับพวกเขาอยู่คือการแกล้งกันเล่น ๆ หรือ การพยายามทำร้ายพวกเขาอยู่กันแน่โดยเฉพาะบนโลกออนไลน์ เพราะพวกเขามักหยอกกันแรง ๆ แล้วหัวเราะพร้อมทิ้งท้ายด้วยประโยคที่ว่า “แค่ล้อเล่นน่า” หรือ “อย่าคิดมากน่า” เอาไว้ เหล่าผู้เชี่ยวชาญจึงให้ข้อสังเกตเอาไว้ว่า หากเมื่อไรเราเริ่มรู้สึกว่าการล้อเล่นนั้นเลยเถิดไปไกลถึงขนาดที่เริ่มทำร้ายจิตใจเราแล้ว นั่นอาจเป็นการ Cyberbully

องค์การ UNICEF พร้อมกับ Facebook, Instagram และ Twitter ได้ให้คำแนะนำไว้ว่า เมื่อไรก็ตามที่เราถูก Cyberbully “กุญแจสำคัญที่จะหยุดการกลั่นแกล้งนั้นได้ ก็คือการชี้ชัดออกไปว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่นั้นคือการกลั่นแกล้งกัน และแจ้งไปยังผู้ใหญ่ที่ไว้ใจหรือผู้เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งรายงาน (report) ไปยังแพลมฟอร์มโซเชียลมีเดียให้หยุดการกระทำดังกล่าว” กล่าวคือ สำหรับใครก็ตามที่กำลังตกเป็นเหยื่อของการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ สิ่งแรกที่ควรทำคือการร้องขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ที่ไว้ใจ เช่น พ่อแม่ ผู้ปกครอง คนในครอบครัวที่สนิท หรือครูที่โรงเรียน แต่หากไม่สะดวกใจที่จะบอกกับคนที่รู้จักก็ควรติดต่อไปยังหน่วยงานมืออาชีพที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะ และหากการกลั่นแกล้งนี้เกิดขึ้นบนโซเชียลมีเดีย ก็ยังสามารถพิจารณาการบล็อก (block) และรายงาน (report) ผู้กลั่นแกล้งเพื่อให้บริษัทโซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาทในการใช้กฏเพื่อป้องกันการคุกคามบนแพลตฟอร์ม (platform) เหล่านั้นให้ได้

สสส. ก็ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรับมือการ Cyberbully ไว้ด้วยหลักการดังนี้

- STOP หยุดระรานกลับด้วยวิธีการเดียวกัน หยุดตอบโต้ เพื่อไม่ให้เกิดการกระทำซ้ำหรือเพิ่มความรุนแรงของเหตุการณ์มากยิ่งขึ้น
- BLOCK ปิดกั้นผู้ที่ระราน ไม่ให้เขาสามารถติดต่อ โพสต์ หรือระรานเราได้อีก
- TELL บอกพ่อแม่ ครู หรือบุคคลที่ไว้ใจ เพื่อขอความช่วยเหลือ หากเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายหรือถูกข่มขู่คุกคาม ให้เก็บรวบรวมข้อมูลของผู้กระทำและเหตุการณ์ระรานรังแกไปแจ้งเจ้าหน้าที่
- REMOVE ลบภาพหรือข้อความระรานรังแกออกทันที โดยอาจติดต่อผู้ดูแลระบบหากเป็นพื้นที่สาธารณะบนโลกออนไลน์
- BE STRONG เข้มแข็ง อดทน ยิ้มสู้ อย่าไปให้คุณค่ากับคนหรือคำพูดที่ทำร้ายเรา ควรใช้เป็นแรงผลักดันให้เราดีขึ้น ก้าวข้ามปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าผู้ถูกรังแกเท่านั้นที่ต้องรับมือกับการระรานทางไซเบอร์ตามลำพัง พ่อแม่ ครู และผู้ให้บริการเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดียก็ยังมีบทบาทในการช่วยป้องกันหรือรับมือกับการรังแกทางไซเบอร์ร่วมกับพวกเขาด้วย ดังนี้



แม้การ Cyberbully จะสามารถสร้างบาดแผลที่ยิ่งใหญ่ให้กับผู้ที่ตกเป็นเป้าหมายได้ แต่ด้วยกำลังใจที่แข็งแกร่งของตนเอง และความช่วยเหลือของทุกฝ่ายรอบข้าง ผู้ถูกรังแกจะสามารถเอาชนะปัญหา และกอบกู้ความกล้าหาญและความมั่นใจในการใช้ชีวิตกลับมาใหม่ได้เสมอ การบอกออกไปว่าสิ่งที่คุณกำลังเผชิญอยู่นั้นคือการระรานการระรานทางไซเบอร์ มิได้เป็นเพียงแค่การร้องขอความช่วยเหลือ และความพยายามในการหยุดยั้งการคุกคามนั้นเท่านั้น หากแต่ยังเป็นการสื่อสารออกไปให้ทุกคนรู้โดยทั่วกันด้วย ว่าไม่มีใครในโลกนี้สมควรถูกคุกคาม และทุกคนล้วนสมควรได้รับการให้เกียรติด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะบนโลกแห่งความเป็นจริง หรือบนโลกไซเบอร์

การรับมือการ Cyberbully 

บทบาทของผู้เกี่ยวข้อง

ใจเย็น และรับฟังปัญหาของลูกด้วยเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์ บอกลูกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่ความผิดของเขา พร้อมบอกให้เขาเข้มแข็ง อดทน และไม่ให้ความสนใจมาก เพราะจะยิ่งทำให้ผู้แกล้งสนุกและทำต่อไป ช่วยลูกแก้ไขปัญหา เช่น บล็อกเพื่อนที่แกล้ง หรือลบข้อความหรือภาพที่โดนตัดต่อ ขอความช่วยเหลือจากครูหรือเจ้าหน้าที่เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก
ก่อนหยิบยื่นโทรศัพท์มือถือให้ลูก ต้องสอนให้เข้าใจถึงภัยอันตรายบนโลกไซเบอร์ เช่น การรับเพื่อนใหม่ การพูดคุยกับเพื่อน การโพสต์ข้อมูลหรือภาพส่วนตัวมากเกินไป
สอนให้ลูกรู้จักการตั้งค่าความปลอดภัยในการใช้สื่อโซเชียลมีเดีย เช่น ใน Facebook สามารถตั้งค่าได้ว่าจะให้ใครมาโพสต์อะไรบนพื้นที่ของเรา หรือจะให้ใครเห็นโพสต์ของเราได้บ้าง 

ไม่เพิกเฉยต่อปัญหาการข่มเหงรังแกกันของเด็ก ควรแก้ไขปัญหาที่ต้นตอ โดยการมีส่วนร่วมของเด็กและครอบครัว  ครูควรสอนทักษะรู้เท่าทันสื่อให้เด็ก ๆ เลือกเชื่อ เลือกแชร์ข่าวสารข้อมูลที่รับมา สอนให้เขาฉุกคิดว่าหากไม่ใช่เรื่องจริงแล้วส่งต่อกันไปอาจเป็นการให้ร้ายหรือละเมิดซ้ำเหยื่อได้

ควรมีกฎกติกาเพื่อต่อต้านการกลั่นแกล้งรังแกกันบนพื้นที่ให้บริการของตน โดยประกาศห้ามอย่างชัดเจน และมีมาตรการดำเนินการกับผู้ฝ่าฝืนควรมีปุ่มรับแจ้งหรือรายงานกรณีถูกกลั่นแกล้งรังแกเพื่อให้เด็กขอความช่วยเหลือในการลบเนื้อหาที่ทำให้อับอายหรือเสื่อมเสียจัดเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำ ช่วยเหลือเยียวยาจิตใจและความเสียหายของเหยื่อ พร้อมประสานส่งต่อไปยังสถานพยาบาล และดำเนินการกับผู้กลั่นแกล้ง รวมถึงให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายหรือหน่วยงานอื่น ๆ หากจำเป็น

© Copyright 2025 sumontarsuksa  - All Rights Reserved

ทางโรงเรียนใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการพัฒนา Platform และการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น รวมถึงใช้เพื่อการวิเคราะห์ด้านสถิติต่างๆ ในการใช้บริการบน Platform ของโรงเรียน