ฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา

Technology Development and Educational Innovation Department

ปรัชญา (Philosophy): เทคโนโลยีช่วยพัฒนา เสริมคุณค่าด้วยนวัตกรรม เรียนรู้ล้ำด้วยสื่อการเรียนรู้ 
คติพจน์ (Motto) : สร้างการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา เพื่อพัฒนานักเรียนที่มีคุณภาพสู่สังคมยุคใหม่
วิสัยทัศน์ (Vision) : เป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา

พันธกิจ (Mission) :
1. จัดทำแผนกลยุทธ์ 4 ปี เพื่อพัฒนาการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการจัดการเรียนรู้
และการสื่อสารทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกให้สอดคล้องกับแผนการพัฒนาของโรงเรียน
คณะศึกษาศาสตร์ และมหาวิทยาลัย
2. จัดหา นำเสนอและเป็นที่ปรึกษาการนำนวัตกรรมที่มีคุณภาพและทันสมัย มาใช้ในการจัดการเรียนรู้
3. จัดหา ดูแลเทคโนโลยีและระบบเครือข่ายที่เหมาะสมสำหรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ พร้อมให้บริการ
ได้ตามความต้องการ
4. พัฒนาและนำเสนอสื่อที่ทันสมัยเพื่อสนับสนุนการประชาสัมพันธ์และการประกันคุณภาพ
5. จัดทำและดูแลการประชาสัมพันธ์ของโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็วและทั่วถึง

วัตถุประสงค์ (Objective) :
1. เพื่อให้โรงเรียนมีแผนกลยุทธ์ แผนแม่บท และแผนการปฏิบัติงานในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม
มาใช้ในการจัดการเรียนรู้และการสื่อสารทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกให้สอดคล้องกับแผนการ
พัฒนาของโรงเรียน คณะศึกษาศาสตร์ และมหาวิทยาลัย
2. เพื่อสนับสนุนการนำนวัตกรรมที่มีคุณภาพและทันสมัย มาใช้ในการจัดการเรียนรู้
3. เพื่อสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีและระบบเครือข่ายสำหรับใช้ในการจัดการเรียนรู้
4. เพื่อสนับสนุนการประชาสัมพันธ์และการประกันคุณภาพ
5. เพื่อส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ของโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็วและทั่วถึง


ฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา

1.การพัฒนาระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ

1.1 สำรวจระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ
1.2  จัดทำทะเบียนเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ
1.3 จัดระบบฐานข้อมูลของสถานศึกษา เพื่อใช้ในการบริหารจัดการภายในสถานศึกษาให้สอดคล้องกับระบบฐานข้อมูลของเขต
      พื้นที่   การศึกษา
1.4 พัฒนาบุคลากรผู้รับผิดชอบระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการปฏิบัติภารกิจ
1.5 จัดระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศเชื่อมโยงกับสถานศึกษาอื่น เขตพื้นที่การศึกษาและส่วนกลาง
1.6 จัดทำบัตรประจำตัวนักเรียน
1.7 นำเสนอและเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหาร การบริการและการประชาสัมพันธ์
1.8 ประเมินและประสานงานระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ และปรับปรุงพัฒนาเป็นระยะ ๆ

2. บริการข้อมูลสารสนเทศ

2.1 จัดให้มีระบบการบริการข้อมูลสารสนเทศ
2.2 จัดระบบข้อมูลข่าวสารของสถานศึกษาเพื่อให้บริการต่อสาธารณะ
2.3 ให้บริการข้อมูล ข่าวสาร และบริการอื่น ๆ แก่สาธารณชน ตามความเหมาะสมและศักยภาพของสถานศึกษา
2.4 พัฒนาระบบการให้บริการข้อมูลสารสนเทศแก่สาธารณชนให้มีประสิทธิภาพเกิดความพึงพอใจ
       ต่อผู้มารับบริการ
2.5 ประเมินความพึงพอใจงานบริการข้อมูลสารสนเทศจากผู้มาขอรับบริการ
2.6 นำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไขพัฒนาระบบงานบริการข้อมูลสารสนเทศ

3. ด้านพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา มีการแบ่งเป็น 4 งาน ดังนี้

3.1 งานพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา มีหน้าที่ดังต่อไปนี้

3.1.1 บริหารจัดการศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
3.1.2 ส่งเสริมและพัฒนาความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาแก่บุคลากรของโรงเรียน
3.1.3 จัดหา พัฒนา รวบรวมและเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษาที่เป็นประโยชน์
3.1.4 จัดทำป้ายนิเทศและสื่อสิ่งพิมพ์ในการนำเสนอทางวิชาการและการประกันคุณภาพ
3.1.5 ฝึกอบรมสัมมนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
3.1.6 ปฏิบัติงานที่ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา มอบหมาย

3.2 งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีหน้าที่ดังต่อไปนี้

3.2.1 บริหารจัดการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
3.2.2 ดูแลและบริหารจัดการงานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
3.2.3 ดูแล พัฒนาเว็บไซต์หลักและระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ ของโรงเรียนให้ทันสมัย
3.2.4 ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือกลุ่มสาระ/หน่วยงานต่าง ๆ ของโรงเรียนในการพัฒนาเว็บไซต์ของตนเอง
3.2.5 จัดซื้อ จัดหา และซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์ เครื่องฉายภาพและเครื่องพิมพ์
3.2.6 ปฏิบัติงานที่ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษามอบหมาย

3.3 งานสร้างสรรค์สื่อและนวัตกรรม มีหน้าที่ดังต่อไปนี้

3.3.1 จัดทำด้านฐานข้อมูลเพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และการประกันคุณภาพ
3.3.2 จัดทำสารสนเทศสื่อผสมเพื่อการประชุม การประชาสัมพันธ์ และการประกันคุณภาพ
3.3.3 จัดทำป้ายนิเทศและสื่อสิ่งพิมพ์ในการประชาสัมพันธ์และการประกันคุณภาพ
3.3.4 ออกแบบและสร้างสรรค์ประชาสัมพันธ์ เพื่อประสานความเข้าใจทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
3.3.5 ปฏิบัติงานที่ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษามอบหมาย

3.4 งานประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร มีหน้าที่ดังต่อไปนี้

3.4.1 บริหารจัดการงานประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กรให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็วและทั่วถึง
3.4.2 บันทึกภาพ จัดเก็บเป็นคลังภาพเพื่องานประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ของโรงเรียน
3.4.3 ดูแลระบบโทรศัพท์สาขาของโรงเรียน ที่เชื่อมต่อภายนอกให้มีประสิทธิภาพ
3.4.4 ดำเนินการประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่าง ๆ ของโรงเรียนผ่านหนังสือวารสาร เว็บไซต์ของโรงเรียน
         ป้ายนิเทศ ป้ายประชาสัมพันธ์ ระบบ SMS ระบบภาพ Digital Signage ระบบเสียงตามสาย
         ระบบโทรศัพท์ และระบบสื่อสารออนไลน์
3.4.5 ปฏิบัติงานที่ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษามอบหมาย 

โครงการ /ผลงาน

1.พัฒนาระบบสาธานูปโภคขั้นพื้นฐาน
   - ติดตั้งและปรับปรุงระบบเครือข่ายเน็ตเวิร์ค  Local  Network ภายในโรงเรียน ครอบคลุมทุกอาคาร  2561 - 2562
   - ติดตั้งระบบ Hotspot และ ฟรีไวไฟ สำหรับคุณครู นักเรียน ผู้ปกรอง และบุคคลทั่วไป ครอบคลุม ร.ร.  2563 - 2564
   - ติดตั้งระบบควบคุมไฟฟ้าและสั่งการด้วยเสียง  ( ห้องปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์ )   2563
   - ติดตั้งระบบสื่อสาร โทรศัพท์ ประจำที และ ระบบ IP Phone  2563

2. พัฒนาระบบบริหารและบริการข้อมูลสารสนเทศโรงเรียน
   - จัดทำระบบ และนำเข้าข้อมูลนักเรียนรายบุคคล ข้อมูลบุคลากร   2561
   - จัดทำระบบ บันทึกผลการเรียน และรายงานผลการเรียนผ่านอินเตอร์เน็ต  2561
   - จัดทำระบบ รับสมัคร นักเรียน ใหม่ ผ่านระบบออนไลน์  252
   - จัดระบบแผนที่ สำหรับบริการ รถรับส่ง นักเรียน  2562
   -  จัดทำแบบสำรวจ น้ำหนักกระเป๋า
   -  จัดทำแบบสำรวจ ข้อมูล บันทึกการเยี่ยมบ้านนักเรียน ผ่านระบบออนไลน๋ 2562 
   -  จัดทำข้อมูลสถิติ สำหรับผู้บริหาร
   -  จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ และช่องทางสื่่อสารทางโซเซียลมีเดีย  Facebook Line  YouTube.
   - จัดทำระบบออกใบเสร็จผ่านออนไลน์
   - จัดทำระบบบริจาคเงิน สำหรับหักภาษี ออนไลน์


3. นวัฒกรรมด้านการศึกษา
    - จัดทำเว็บไซต์หลักโรงเรียน  www.sumontarsuksa.ac.th 2561
    - จัดทำและพัฒนาเว็บไซต์ บนโทรศัพท์สมาร์ทโฟน  2563
    - ส่งเสริมและพัฒนาระบบการเรียนการสอนผ่านออนไลน์ Class Start , Google Class 
    - จัดทำระบบประชุมทางไกลผ่าน แอปพลิเคชั่น Zoom  , Google Meet , Line
    - จัดทำและส่งเสริม การผลิต และการใช้ สิ่อการเรียนการสอนในรูปแบบดิจิิทัล 2561 
    - จัดทำระบบ วิดีโอสตรีมมิ่ง ในการถ่ายทอดสด ผ่าน Facebook และ YouTube 
    - จัดทำระบบคลาวน์โรงเรียน 
    - จัดทำ Simulator Micro bit  และ Coding บนแพลตฟอร์มออนไลน์ ของโรงเรียน 262
    - จัดทำประกาศนียบัตร ในรูปแบบ AR  2562
    - จัดทำระบบ AI เพื่อการจัดการ การสั่งการ และการประมวลผล คำสั่ง โดย  google assistant 2562
    - นำ Microsoft Education มาใช้ สำหรับ ครู และนักเรียน
    - จัดทำแผนและนโยบายความปลอดภัยสารสนเทศ โรงเรียน พ.ศ.2564


 

การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

ปัจจุบันระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามามีบทบาทในการปฏิบัติงานในโรงเรียนมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งสื่อสารประชาสัมพันธ์ จนอาจกล่าวได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนในประเทศไทย ในทุกระดับความจริงแล้วคำว่า “เทคโนโลยีสารสนเทศ” มิได้หมายถึงเฉพาะคอมพิวเตอร์เท่านั้น ดังจะเห็นได้จากคำจำกัดความของคำว่า “เทคโนโลยีสารสนเทศ” (Information Technology )หมายถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดกระทำข้อมูลหรือประมวลผลข้อมูลให้ได้มาซึ่ง สารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสนเทศในโรงเรียนนั้น ควรคำนึงถึง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และให้เป็นประโยชน์สูงสุด ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็นในระบบการศึกษาอาจแบ่งได้ออกเป็น 2 ส่วน คือ

1. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
2. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน

การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ สถานศึกษาหรือโรงเรียนควรมีแนวทางในการดำเนินการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศในอันที่จะก่อให้เกิดการตัดสินใจแก้ปัญหาในทางที่ถูกต้อง สามารถกำหนดเป็นแผนปฏิบัติการที่มีข้อมูลสารสนเทศสนับสนุนมากกว่าการคาดเดา ข้อมูลสารสนเทศดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสองส่วนด้วยกันคือ

1.1 ด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย ส่วนนี้ถือว่าเป็นพื้นฐานของพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียน การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเป็นระบบเครือข่ายจะสามารถทำให้การจัดการข้อมูลในแต่ละส่วนของโรงเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบต้องสามารถถ่ายโอนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์แม่ข่ายได้ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนนั้น จัดทำได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับสภาพความพร้อมและงบประมาณ ดังนั้นโรงเรียนควรมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องระบบเครือข่ายเพื่อให้คำปรึกษาหรือจัดวางระบบให้ได้มาตรฐาน และรองรับการขยายตัวของระบบเครือข่ายในอนาคต
1.2 ด้านซอฟท์แวร์ สำหรับบริหารจัดการข้อมูล ส่วนนี้เป็นส่วนที่สำคัญมากสำหรับระบบ เพราะถึงแม้ว่าเราจะมีคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายที่ดี แต่ถ้าไม่มีซอฟท์แวร์สำหรับบริหารจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ก็จะทำให้ระบบสารสนเทศในโรงเรียนไม่เป็นไปตามความคาดหวัง จะไม่มีข้อมูลที่มีประสิทธิภาพในการตัดสินใจแก้ปัญหาที่ถูกต้อง

ซอฟท์แวร์ หรือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการบริหารงานที่ดีควรมีองค์ประกอบดังนี้
1.2.1 ควรเป็นโปรแกรมที่มีระบบการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียวกันในทุกฝ่ายงาน ผ่านระบบเครือข่าย
1.2.2 ควรเป็นโปรแกรมที่สามารถประมวลผลข้อมูลใหม่ได้ทันทีที่ต้องการ (Real Time)
1.2.3 ควรเป็นโปรแกรมที่สามารถนำข้อมูลของแต่ละฝ่ายงานมาประมวลผลเป็น สารสนเทศที่เอื้ออำนวยต่อการบริหารงานในโรงเรียน
1.2.4 ควรเป็นโปรแกรมที่มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลตามลำดับชั้นของผู้รับผิดชอบ

ฐานข้อมูลที่โรงเรียน ควรต้องดำเนินการจัดเก็บเป็นข้อมูลกลางที่ฝ่ายต่าง ๆ สามารถเรียกใช้ผ่านระบบเครือข่าย ควรมีข้อมูลต่อไปนี้

ก. ข้อมูลนักเรียน
ข. ข้อมูลบุคลากร
ค. ข้อมูลแผนงาน/โครงการ


สารสนเทศพื้นฐานที่จำเป็นต่อการบริหารงาน

ก. สารสนเทศเกี่ยวกับตัวนักเรียน เช่น
- สารสนเทศเกี่ยวสภาพครอบครัว
- สารสนเทศเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย
- สารรสนเทศเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
- ฯลฯ
ข. สารสนเทศเกี่ยวกับบุคลากร
- สารสนเทศเกี่ยวกับประวัติบุคลากร
- สารสนเทศเกี่ยวกับความชำนาญการ และเชี่ยวชาญ
- สารสนเทศเกี่ยวกับการฝึกอบรม
- ฯลฯ
ค. สารสนเทศเกี่ยวกับงานแผนงาน โครงการต่าง ๆ
- สารสนเทศเกี่ยวกับการดำเนินงานตามแผนงาน โครงการ
- สารสนเทศเกี่ยวกับการใช้งบประมาณ
- สารสนเทศเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของงาน โครงการ

นอกจากนี้โรงเรียนอาจจัดระบบข้อมูลอื่น ๆ ตามความจำเป็น ให้สามารถตอบโจทย์ได้ว่าโรงเรียนได้ดำเนินการให้บรรลุผลตามจุดประสงค์ ปรัชญา และวิสัยทัศน์ของโรงเรียนมากน้อยเพียงใด

การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนนี้ ต้องอาศัยนโยบายด้าน ICT ของโรงเรียน เพราะการนำเทคโนโลยีมาเพื่อการเรียนการสอนนั้นต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูง โดยโรงเรียนต้องดำเนินการให้มีวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอต่อการใช้งานในอัตราส่วนที่เหมาะสมและสะดวกในการใช้งาน กระจายสู่ห้องเรียน มากกว่ารวมอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง และเน้นการใช้สื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และ สื่ออีเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจ และทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมีแนวทางในการดำเนินการ ดังนี้

2.1 ด้านอุปกรณ์ (Hard ware) โรงเรียนจำเป็นต้องจัดหาวัสดุอุปกรณ์โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ให้พอเพียงต่อการใช้งาน และกระจายลงสู่ห้องเรียน มากกว่ากระจุกอยู่ในห้องใดห้องหนึ่ง ซึ่งจะเอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ส่งเสริมให้นักเรียนได้มีโอกาสใช้อุปกรณ์เพื่อนำเสนอผลงาน และศึกษาค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ได้สะดวกและรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ควรจัดให้มีในห้องปฏิบัติการต่าง ๆ
ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ (เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์)
ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์
ห้องปฏิบัติการทางภาษา (ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ)
ห้องปฏิบัติการศูนย์การเรียนรู้
ห้องสมุดสำหรับสืบค้นข้อมูล และใช้สื่อประเภทต่าง ๆ
ห้องเรียนอื่น ๆ ตามความเหมาะสมของแต่ละโรงเรียน


2.2 ด้านสื่อการเรียนการสอน (Soft ware) โรงเรียนจำเป็นต้องจัดหาสื่อการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและสนับสนุนให้ครูใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเนื้อหาบทเรียนที่สอน โดยจัดเป็นศูนย์บริการสื่อการเรียนการสอน ซึ่งสื่อด้านอีเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ เช่น สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สื่อประเภทสารคดีสื่อประเภทสถานการณ์จำลองสื่อประเภทฝึกทักษะต่าง ๆ

2.3 ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากร ได้มีโอกาสพัฒนาตนเองในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การเลือกใช้สื่อให้เหมาะสม การผลิตสื่อการเรียนการสอนด้วยตนเอง ส่งเสริมให้มีการวิจัย วิเคราะห์ การใช้สื่อประเภทต่าง ๆ

หัวหน้าฝ่าย

เจษบดินทร์ เสือคำ

“Innovation distinguishes between a leader and a follower.”

เจ้าหน้าที่

รุจิราภรณ์ คงไชย

“สิ่งสำคัญของการสร้างสรรค์คืออย่ากลัวที่จะล้มเหลว”

วิทยาการคำนวณโค้ดดิ้ง 

Coding คืออะไร ทำไมเด็กๆ ต้องเรียน

CODING THAILAND

โครงการ Coding Thailand ที่มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ผ่านแพลตฟอร์ม ออนไลน์ระดับประเทศ และกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อเข้าถึงเยาวชนไทยทั่วประเทศ และลดความ เหลื่อมล้ำทางการศึกษา อีกทั้งยังตระหนักในความสำคัญของการเรียนรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และการ โค้ดดิ้ง ด้วยการส่งเสริมการพัฒนาทักษะด้านโค้ดดิ้ง ด้วยการเปิดพื้นที่การเรียนรู้ผ่านการลงมือทำเพื่อ สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ

ดาวน์โหลดคู่มือต่างๆ 

สำหรับคุณครู ท่านสามารถดาวน์โหลดคู่มือต่างๆ ผ่าน QR CODE ได้ตามภาพด้านบน

ผังแสดง บริการบนเครือข่าย ใหม่

ทางโรงเรียนได้ปรับปรุงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการบริการ ระบบต่างๆ เพื่อรองรับปริมาณการใช้งานในช่วงการระบาดของไวรัสโคหวิด 2019 

นโยบายความมั่นคงปลอดภัยฯ

โรงเรียนสุมณฑาศึกษา จึงจัดทำแนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศขององค์กร เพื่อให้การดำเนินงานด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์มีความมั่นคงปลอดภัยและเชื่อถือได้ เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง และเพื่อดูแลรักษาความมั่นคงและความปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงาน

ระบบบริจาคเงิน

มอบความเสมอภาคการศึกษา ได้ลดหย่อนภาษี 2 เท่า กรมสรรพากรขยายเวลามาตรการภาษีสนับสนุนผู้บริจาคให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ผ่านระบบ e-Donation หักลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า ช่วยนักเรียนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษาเพื่อให้เด็กและเยาวชนที่ขาดแคลนได้รับการสนับสนุนทางการศึกษา ตลอดจนเพิ่มโอกาสในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศให้มีคุณภาพ อันจะนำไปสู่การพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

โครงการจัดหาอุปกรณ์เรียน

โครงการจัดหา แท็บเล็ต เพื่อการเรียนผ่านออนไลน์สำหรับนักเรียนและผู้ปกครองที่สนใจซื้ออุปกรณ์แท็บเล็ต เพื่อใช้ในการเรียน สามารถสั่งซื้อ แท็บเล็ต ในราคาพิเศษ ได้ที่นี้ 

VPN NETWORK

Virtual Private Network เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อเครือข่ายนอกอาคาร (WAN - Wide Area Network) เป็นระบบเครือข่ายภายในองค์กร ซึ่งเชื่อมเครือข่ายในแต่ละสาขาเข้าด้วยกัน โดยอาศัย Internet เป็นตัวกลาง มีการทำ Tunneling หรือการสร้างอุโมงค์เสมือนไว้รับส่งข้อมูล มีระบบเข้ารหัสเพื่อป้องกันภัยคุกคามจากไซร์เบอร์ รวมถึงการบุกรุคเครือข่าย การโจรกรรม  การลักลอบเข้าถึงมูลในระบบ  และการโจมตีระบบ
ซึ่งทางโรงเรียนได้กำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล ของบุคลากรและเจ้าหน้าที่ ตามนโยบายการรักษาความปลอดภัยทางเครือข่ายให้บริการข้อมูลสารสนเทศ  ตลอดถึงนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) ชองทางโรงเรียน

เชื่อมต่อ VPN ใน Windows 10

ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือใช้งานส่วนบุคคล คุณสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายส่วนตัวเสมือน (VPN) บนพีซี Windows 10 การเชื่อมต่อ VPN สามารถช่วยให้คุณเข้าถึงและเชื่อมต่อกับเครือข่ายของโรงเรียน โปรดศึกษาคู่มือการตั้งค่าได้ที่นี้่

เชื่อมต่อกับเครือข่ายส่วนตัวเสมือน (VPN) ใน Android

เชื่อมต่อโทรศัพท์กับเครือข่ายส่วนตัว เช่น เครือข่ายโรงเรียนหรือบริษัทได้แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ที่นั่น โดยเป็นการเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายส่วนตัวเสมือน (VPN)
สำคัญ: ขั้นตอนเหล่านี้จะมีบางขั้นตอนที่ใช้ได้เฉพาะกับ Android 9 ขึ้นไปเท่านั้น
โปรดศึกษาคู่มือได้ที่ ลิงค์ดังนี้

ตั้งค่าการเชื่อมต่อ VPN บน Mac

หากต้องการเชื่อมต่อกับเครือข่ายส่วนตัวเสมือน (VPN) คุณจำเป็นต้องใส่การตั้งค่าการกำหนดค่าในการตั้งค่า เครือข่าย การตั้งค่าเหล่านี้ ได้แก่ ที่อยู่เซิร์ฟเวอร์ VPN ชื่อบัญชี และการตั้งค่าการรับรองความถูกต้องใดๆ เช่น รหัสผ่าน หรือใบรับรองที่คุณได้รับจากผู้ดูแลระบบเครือข่าย สามารถศึกษาวิธีการตั้งค่าได้ที่ ลิงค์ต่อไปนี้

บริการบนระบบเครือข่ายเสมือน

เจ้าหน้าที่ คุณครู และบุคลากรโรงเรียน สามารถใช้งานระบบต่างๆ บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยใช้บัญชีและรหัสผ่านที่ทางโรงเรียนออกให้ดังนี้

ระบบงาน บุคลากรโรงเรียน
ระบบงาน การเงินโรงเรียน
ระบบงาน ทะเบียนและวัดผล
ระบบงาน วิชาการและหลักสูตร
ระบบงาน ประชาสัมพันธ์โรงเรียน
ระบบงาน ธุระการ
ระบบงาน ธนาคารโรงเรียน
ระบบ บริหารจัดการอินเตอร์เน็ตโรงเรียน
ระบบ ควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้า
ศูนย์ข้อมูลกลาง
ระบบ จัดการร้านค้าสหกรณ์

ระบบกล้องวงจรปิด  ( ยังไม่เปิดบริการ )
ระบบงานสถิติ ( ยังไม่เปิดบริการ )
ระบบสั่งพิมพ์เอกสาร ( ยังไม่เปิดบริการ )

แชร์​แพลตฟอร์ม​ของเรา

© Copyright 2025 sumontarsuksa  - All Rights Reserved

ทางโรงเรียนใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการพัฒนา Platform และการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น รวมถึงใช้เพื่อการวิเคราะห์ด้านสถิติต่างๆ ในการใช้บริการบน Platform ของโรงเรียน